วิธีเริ่มต้นเป็น ฟรีแลนซ์ นักทำเว็บไซต์ WordPress ทำเว็บง่ายๆ รายได้ดี

คุณเคยคิดอยากทำงานอิสระ สร้างรายได้จากที่ไหนก็ได้ในโลกนี้หรือเปล่า? การเป็นฟรีแลนซ์นักทำเว็บไซต์ WordPress อาจเป็นคำตอบที่คุณกำลังมองหา! การเริ่มต้นเป็นฟรีแลนซ์นักทำเว็บไซต์ WordPress ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป ในบทความนี้ เราจะพาคุณผ่านขั้นตอนทั้งหมด ตั้งแต่ข้อดีของฟรีแลนซ์ WordPress , การสร้างพอร์ตโฟลิโอ , การหาลูกค้า ไปจนถึงเทคนิคและเคล็ดลับในการทำเว็บไซต์อย่างมืออาชีพ

ทำไมควรเลือก WordPress สำหรับการเป็นฟรีแลนซ์

หลายๆ คนอาจจะยังลังเลอยู่ว่าฟรีแลนซ์ทำเว็บไซต์มีตั้งหลายแพลตฟอร์ม แล้วมีเหตุผลอะไรบ้างที่เราควรจะเลือกใช้ WordPress ในการทำเว็บไซต์? มาอ่านกันต่อเลย

ข้อดีของ WordPress ในการสร้างเว็บไซต์

ใช้งานง่าย ทุกเพศ ทุกวัย

  • WordPress เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย แม้ว่าคุณจะไม่มีประสบการณ์การเขียนโค้ด คุณก็สามารถสร้างและจัดการเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย
  • ด้วยอินเทอร์เฟซที่ทันสมัยใช้เมาส์ก็เอาอยู่และระบบลากวาง ทำให้การสร้างหน้าเว็บและเพิ่มเนื้อหาทำได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเองให้ปวดหัว
  • WordPress ยังมีธีมและเทมเพลตสำเร็จรูปสวยๆ เท่ๆ มากมายให้เลือกใช้ ทำให้สร้างเว็บไซต์ที่ดูดีและมืออาชีพได้ภายในไม่กี่คลิก
  • หากเคยได้ยินหรือเห็นคำว่า CMS (Content Management System) คือระบบที่ช่วยให้คุณสร้างและจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องมีความรู้ทางเทคนิคหรือการเขียนโค้ดมากมาย เช่น WordPress นั่นเอง

ปรับแต่งตามใจ สไตล์ไหนก็โดน

  • การมีปลั๊กอินเสริมเพื่อเพิ่มฟังก์ชันการทำงานให้กับเว็บไซต์ ทำให้ WordPress มีลูกเล่นหลากหลายวิธีที่พร้อมนำเสนอ
  • ปลั๊กอิน SEO สำหรับการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับใน Search Engine
  • ปลั๊กอินติดต่อสำหรับสร้างแบบฟอร์มติดต่อ
  • ปลั๊กอินแชทสำหรับการสนทนาสดกับผู้เยี่ยมชม
  • WordPress ยังมีธีมให้เลือกทั้งแบบฟรีและแบบจ่ายเงิน แต่ละธีมก็มีความโดดเด่นสวยงามตอบสนองความต้องการทุกประเภท
  • ธีมเว็บไซต์แบบ Blog บทความ
  • ธีมแบบ E-commerce
  • ธีมแบบ ข้อมูลบริษัท

ง่ายต่อการหาข้อมูลและความช่วยเหลือ

  • ด้วยความที่ WordPress เป็น CMS (Content Management System) ที่ได้รับความนิยมสูง ดังนั้นคนที่ใช้ WordPress จึงคุยกับใครก็รู้เรื่อง ขอคำปรึกษา ความช่วยเหลือก็ย่อมง่าย
  • ในโลกออนไลน์มีคอนเทนต์เกี่ยวกับการสอน การแนะนำ ไอเดียเจ๋งๆ ของ WordPress ทั้งบทความ รูปภาพ วิดีโอ ไม่ต้องกังวลที่จะข้อมูลของ WordPress ไม่เจอ

เหมาะสำหรับงบน้อย เริ่มต้นง่าย

  • WordPress เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่สามารถดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรี หลายๆ ธุรกิจสามารถสร้างเว็บไซต์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเบื้องต้น
  • บริการฟรีของ WordPress ก็มีรองรับทั้งธีมและปลั๊กอิน ช่วยให้ปรับแต่งและเพิ่มฟังก์ชันต่างๆ ให้กับเว็บไซต์ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายของเรา
  • มีบริการเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ราคาประหยัดที่รองรับการใช้งาน WordPress อยู่มากมาย คุณสามารถหาได้ง่ายๆ เพื่อให้เว็บไซต์ไม่ดับและสามารถเข้าใช้งานได้ตลอด 24 ชม.

รองรับ SEO เติบโตในออนไลน์

  • WordPress มีเครื่องมือ SEO ในตัว ช่วยให้เว็บไซต์ได้เปรียบในการติดอันดับบนเครื่องมือค้นหาหรือ Search Engine
  • มีปลั๊กอิน SEO ให้เลือกอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
  • Yoast SEO มีฟีเจอร์เด่นๆ ที่จะช่วยเรื่อง SEO
  • Internal link ช่วยให้มีโครงสร้างเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ
  • วิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ Keyword
  • ตรวจสอบและปรับแต่งเนื้อหาหน้าเว็บเพจให้ตรงตามหลัก SEO
  • จัดการ Error 404 ไม่มีปัญหารบกวน
  • แผนผังเว็บไซต์ (XML Sitemaps) ช่วยให้ Google เข้าใจโครงสร้างเว็บไซต์ของคุณ
  • All in One SEO Pack กับฟีเจอร์ SEO โดนๆ
  • รองรับ Google AMP, XML Sitemap, Google Analytics
  • เชื่อมต่อเว็บไซต์กับอีคอมเมิร์ซ เช่น Shopify
  • ปรับแต่งชื่อบล็อก, meta tags อัตโนมัติ

ความปลอดภัยเข้มข้น

  • WordPress มีระบบความปลอดภัยในตัวเองค่อนข้างครอบคลุม มีการแจ้งเตือนผู้ใช้งานให้อัพเดทความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
  • มีปลั๊กอินความปลอดภัยเพิ่มเติมมากมายให้เลือก
  • Wordfence : สแกนเนอร์มัลแวร์ที่มีประสิทธิภาพและทำงานแบบอัตโนมัติ Wordfence ยังมีไฟร์วอลล์ในตัวแต่จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าไฟร์วอลล์ระดับ DNS
  • Sucuri : ไฟร์วอลล์ระดับสูง ช่วยป้องกันการโจมตีและกรองการเข้าชม ไฟร์วอลล์ยังมี CDN ที่เพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ หากเว็บไซต์โดนมัลแวร์ Sucuri จะทำความสะอาดให้ฟรี
  • All In One WP Security & Firewall : มีคุณสมบัติเช่น ป้องกันการโจมตีจากผู้ใช้ที่น่าสงสีย กรอง IP ตรวจสอบความสมบูรณ์ของไฟล์ และสแกนหาฐานข้อมูลที่น่าสงสัย

รองรับทุก Device

  • WordPress รองรับการออกแบบเว็บไซต์แบบตอบสนอง (Responsive) พูดง่ายๆ ก็คือสามารถปรับขนาดการแสดงผลตามขนาดอุปกรณ์ที่เราใช้งาน
  • เว็บไซต์ของ WordPress จะแสดงผลได้อย่างสวยงามบนทุกอุปกรณ์ เช่น
  • คอมพิวเตอร์
  • แท็บเล็ต
  • สมาร์ทโฟน

ข้อดีทั้งหมดคือเหตุผลว่าทำไม WordPress ยังเป็นที่ต้องการสำหรับการสร้างเว็บไซต์ และตลาดต้องการทักษะนี้จำนวนมาก

ตัวอย่างข้อดีของ WordPress

เป็นฟรีแลนซ์นักทำเว็บไซต์ WordPress เริ่มยังไง? มีเทคนิคอะไร?

การจะเป็นนักออกแบบเว็บไซต์ WordPress ฟรีแลนซ์ จะเริ่มต้นยังไงดี? วิธีเริ่มก็คือเปิดคอมพิวเตอร์ แล็บท็อป ของคุณตอนนี้ซะ! แล้วเริ่มจากการเรียนรู้เบื้องต้นในการสร้างเว็บไซต์ WordPress ก่อนเลย เพราะวิธีนี้มันง่ายที่สุดแล้วในการเริ่มต้น และต่อไปนี้จะเป็นเทคนิคและแนวทางหลักที่นักออกแบบเว็บไซต์ควรจะต้องมีในช่วงการเริ่มต้นเป็นฟรีแลนซ์

วางแผนก่อนเริ่ม

  • แน่นอนว่าก่อนจะเริ่มลงมือออกแบบเว็บไซต์ใด เว็บไซต์หนึ่งนักออกแบบต้องรู้ก่อนว่า เว็บไซต์นั้นมีเป้าหมายคืออะไร เช่น
  • เว็บไซต์สำหรับขายสินค้า
  • เว็บไซต์สำหรับข่าวและบทความ
  • เว็บไซต์สำหรับความบันเทิง
  • เมื่อเรารู้ถึงจุดประสงค์ของเว็บไซต์ เราก็จะรู้กลุ่มเป้าหมายของคนที่จะเข้าชมเว็บไซต์โดยปริมาณ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบต่อไป
  • วางโครงสร้างเนื้อหาที่เราจะนำเสนอต่อผู้ชมบนเว็บไซต์ ว่าเนื้อหาใดควรจะอยู่ก่อนหรือหลังหรือเนื้อหาใดควรเน้นขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก
  • ออกแบบหน้าเว็บไซต์คร่าวๆ วาดโครงร่างว่าจะให้มีหน้าแรกเป็นอย่างไร เพราะเป็นเหมือนประตูด่านแรกที่คนเข้าเว็บของเรามาจะต้องเจอก่อน

ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการปรับแต่งเว็บ

ธีม

  • WordPress คือพื้นที่เปิดกว้างสำหรับนักออกแบบหน้าเว็บไซต์ เพราะตัวแพลตฟอร์มเองรองรับธีมมากกว่า 100 + ธีม ให้เลือกใช้
  • การเลือกธีมนั้นก็ต้องสอดคล้องกับข้อแรกก็คือจุดประสงค์ของเว็บไซต์
    • เว็บไซต์ข่าวกีฬาก็ควรใช้ธีม ดุดัน แข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงธีมประเภท สดใส อ่อนโยน
    • เว็บไซต์ขายสินค้าก็ควรเลือกธีมที่ดูหรูหรา น่าเชื่อถือ ทันสมัยเป็นต้น
  • ธีมเว็บไซต์เปรียบเทียบก็เหมือนเสื้อผ้าที่เราใส่ หากเราต้องการพบลูกค้าก็ต้องแต่งตัวดีๆ สะอาด น่าเชื่อถือ หรือหากเราต้องการไปเที่ยวผจญภัย ก็แต่งตัวสบายๆ ลุยๆ หวังว่าทุกท่านคงเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น
  • และอย่าลืมเลือกธีมที่สอดคล้องกับระบบความปลอดภัย มีให้อัปเดตด้านความปลอดภัยอยู่เสมอ

ปลั๊กอิน

  • ปลั๊กอินคือส่วนเสริมในออกแบบเพื่อช่วยเพิ่มฟังก์ชันการทำงานให้กับเว็บไซต์ ให้เว็บไซต์ดูมีอะไรมากขึ้น มีการตอบสนองกับผู้ชมได้มากขึ้น
  • ประเภทของปลั๊กอินมีอะไรบ้าง?
  • ปลั๊กอินสำหรับสร้างหน้าเว็บ
  • ปลั๊กอินสำหรับ SEO ติดอันดับการค้นหา
  • ปลั๊กอินสำหรับใช้ในการติดต่อกับเจ้าของเว็บหรือธุรกิจ
  • ปลั๊กอินสำหรับเว็บ E-Commerce
  • ปลั๊กอินสำหรับความปลอดภัย
  • ปลัก๊กอินบริการด้านความสะดวกสบายอื่นๆ
  • ควรติดตั้งปลั๊กอินที่เท่าที่จำเป็นและน่าเชื่อถือ เพราะถ้าหากเว็บคืออุปกรณ์ไอทีชนิดหนึ่ง ปลั๊กอินก็เหมือนแอพลิเคชั่นที่เราเลือกติดตั้งเพื่อให้อุปกรณ์นั้นปรับใช้งานได้หลายแนว
  • ในการเริ่มต้นออกแบบเว็บไซต์นั้นการเลือกใช้ปลั๊กอินก็มีส่วนสำคัญ เพราะถ้าเราใช้ปลั๊กอินเยอะเกินไปก็มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย

ขังผู้เข้าชมเว็บด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจ

  • นักออกแบบเว็บไซต์มือใหม่ควรรู้ไว้เลยว่า ต่อให้ธีมของเว็บสวยแค่ไหน มีฟังก์ชั่นการใช้งานเจ๋งๆ เต็มไปหมด แต่ไม่มีเนื้อหาอะไรดึงดูด ก็ไม่อาจรั้งผู้ชมไว้ได้นาน
  • ดังนั้น ! สิ่งสำคัญคือการสร้างเนื้อหาในเว็บให้น่าสนใจ ทำยังไงก็ได้เพื่อขังผู้ชมให้อยู่ในเว็บไซต์ของเรานานๆ
  • การสร้างเนื้อหาในเว็บ ก็มีหลักการรวมๆ ก็คือ
  • ดึงดูดความสนใจให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย
  • เนื้อหาในเว็บต้องใช้รูปภาพ วิดีโอ บทความที่คุณภาพสูง
  • อัพเดทตามกระแสให้ทัน
  • สิ่งเหล่านี้คือหลักเบื้องต้นที่จะทำให้เนื้อหาในหน้าเว็บของเราดึงผู้ชมไว้ได้นาน แต่ถ้าจะเจาะลึกอีก เราสามารถคุยเรื่องนี้ได้ยาวๆ

รู้จัก UX/UI

  • UI (User Interface) คือการออกแบบที่เราต้องคำนึงถึงการใช้งานที่มันง่าย ไม่ซับซ้อน ลดระยะเวลาการใช้งาน
  • UX (User Experience) คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ความรู้สึกหลังจากที่ได้ใช้งานไปแล้ว เป็นอย่างไร?
  • การเริ่มต้นในการออกแบบเว็บไซต์จึงต้องคำนึงถึง UX/UI ตามคำนิยามที่ได้กล่าวเพราะคนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ของเรา ควรจจะใช้บริการเว็บไซต์ได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ได้รับประสบการณ์ที่ดีกลับไป
  • ดังนั้นเว็บไซต์ที่คำนึงถึง UX/UI ก็คือ
  • มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่สะดวก ง่ายดาย
  • มีสีสันที่เข้ากับเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บ
  • มีอินเทอร์เฟซที่ตอบสนองต่อความพอใจของผู้เข้าชม
  • มีโครงสร้างเว็บไซต์ การจัดแบ่งเนื้อหาที่ดี มีประโยชน์
  • อาจจะรวมไปถึงความเร็วในการตอบสนองต่อคำสั่งผู้ใช้งานด้วย เพราะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของประสบการณืที่ผู้ใช้งานได้รับ
  • และอย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของเราสามารถใช้งานได้บนทุกอุปกรณ์ เพื่อตอบสนองการใช้งานทุกประเภท

ใช้ SEO ให้สุด

  • เมื่อ WordPress มีปลั๊กอินที่เกี่ยวข้องกับ SEO ให้ ตามที่ได้บอกไว้ในตอนต้น ดังนั้นก็ใช้มันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปรับแต่งให้หน้าเว็บของเราติดอันดับต้นๆ สำหรับการค้นหาให้ได้
  • อาจจะมีการใช้คีย์เวิร์ด(Keyword) ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์หรือชื่อเว็บไซต์เพื่อให้กระตุ้นเกิดการค้นหาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
  • เว็บไซต์ขายสินค้า อาจจะมีคีย์เวิร์ดในเว็บไซต์อย่าง ลดราคา, Sale, สุดคุ้ม เป็นต้น
  • ต้องสร้าง Traffic ให้เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกเว็บไซต์ พูดง่ายๆ ก็คือ สร้างลิงก์เชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ไปยังเพจต่างๆ ของเว็บเรา เรียกว่า Internal Links
  • ทำภายในแล้วก็อย่าลืมที่จะมี Hyperlinks ออกไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจากเว็บของเรารวมถึงไปแปะลิงก์บนเว็บไซต์พันธมิตรอื่นๆ ให้เข้ายังเว็บไซต์ของเราเรียกว่า External Links

เทคนิคเบื้องต้นในการออกแบบเว็บไซต์

ได้เทคนิคแล้ว ถึงเวลาสร้างรายได้!

เอาล่ะ เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็แสดงว่าหลายคนคงจะมีไอเดียและฝีมือในการออกแบบเว็บไซต์กันมาบ้างแล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่ต้องเริ่มสร้างรายได้ เพื่อให้วิชาความรู้ที่เรียนมาได้ออกดอกออกผลสักที การสร้างรายได้จากการเป็นฟรีแลนซ์นักออกแบบเว็บไซต์นั้น ก็มีคอนเซปต์คล้ายๆ กับฟรีแลนซ์สายอื่นๆ ก็คือ หากฝีมือคุณเจ๋งจริง ค่าตอบแทนก็สูงตามไปด้วย

สร้างพอร์ตให้เจ๋ง!

  • ก่อนจะเสนอตัวเองทำงานหรือรับจ้างจากนายจ้าง เราเองก็ต้องมีการสะสมผลงานที่ทำขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าได้พิจารณาถึงระดับความสามารถของเรา
  • หากได้มีโอกาสได้ออกแบบเว็บไซต์จาก WordPress อย่าลืมที่จะเก็บผลงานไว้ พร้อมอธิบายเกี่ยวกับผลงานสักนิดก็จะยิ่งทำให้ลูกค้าเข้าใจมากขึ้น
  • ออกแบบเว็บไซต์หลายๆ ประเภท หลายๆ แนวทาง เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าลูกค้าที่จะจ้างเรานั้นเขาต้องการเว็บไซต์แบบไหนมาก่อน ดังนั้นมีตัวเลือกให้ลูกค้ากว้างๆ เข้าไว้ ได้งานแน่นอน

ลองทำโปรเจคจริงฝึกสกิล

  • อย่างที่บอกไปว่างานฟรีแลนซ์ รายได้แปรผันตามฝีมือ ก็อย่าลืมที่จะพัฒนาฝีมือการออกแบบเว็บไซต์ให้บ่อยๆ ลงสนามจริงให้บ่อยคุ้นเคยกับการพูดคุยงาน เจรจาค่าตอบแทน
  • อาจจะรับงานง่ายๆ แก้ขัดไปก่อนหากช่วงเริ่มต้นยังไม่มีใครรู้ถึงสกิลของเรา เช่น
  • รับงานแก้ไขฟ้อนต์ของเว็บเบื้องต้น แต่ก็โชว์สกิลให้เขารู้ว่าเราทำได้มากกว่านั้น
  • งานปรับแต่งธีม ปรับแต่งปลั๊กอิน เขียนเนื้อหาในเว็บ
  • เข้าร่วมโครงการ Open Source ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจไม่น้อยในการพัฒนาทักษะออกแบบเว็บไซต์
  • Open Source คือวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยโค้ดให้สาธารณะ ใช้งานได้ฟรีและนักพัฒนาคนอื่น ๆ สามารถศึกษา แก้ไข และพัฒนาโค้ดให้ดีขึ้น เปรียบเสมือนการระดมสมองช่วยกันคิดหาโค้ดที่สมบูรณ์แบบที่สุด

แหล่งหางานฟรีแลนซ์ออกแบบเว็บไซต์

  • นักออกแบบเว็บไซต์สามารถเริ่มต้นหางานจากแหล่งเว็บไซต์รับงานฟรีแลนซ์ชื่อดัง เช่น
  • Upwork: แพลตฟอร์มยอดนิยมสำหรับฟรีแลนซ์ทุกสายงาน มีงานออกแบบเว็บไซต์มากมายให้เลือก
  • FreelanceBay: อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ใหญ่และมีงานหลากหลาย สามารถประมูลงานที่คุณสนใจได้
  • Fastwork : แหล่งหางานฟรีแลนซืทุกประเภทของเมืองไทย รวมไปถึงนักออกแบบเว็บไซต์ WordPress
  • Fiverr: เน้นงานแบบจ้างเป็นโปรเจกต์ มีการตั้งราคางานที่ชัดเจนและงานออกแบบเว็บไซต์มากมาย
  • แหล่งหางานที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งก็คือในโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะแพลตฟอร์มที่สามารถตั้งโพสต์ในการรับงาน หางานได้ เช่น
  • Facebook Group : กลุ่มเฟสบุคคือแหล่งรวมตัวของคนที่มีความต้องการคล้ายกันหรือสัมพันธ์กัน นายจ้างและฟรีแลนซ์สามารถโพสต์ความต้องการ(จ้างงาน , รับงาน)ได้ทุกเวลา
  • LinkedIn : แพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้ฟรีแลนซ์หลายประเภทได้ประชาสัมพันธ์ เสนอตัวเองให้น่าสนใจ พร้อมกับมีโอกาศจากบริษัทจ้างงานมากมายเต็มไปหมดที่รอคุณอยู่
  • การเสนอตัวรับงานไม่ใช่เรื่องน่าอายแต่อย่างใด อีกทั้งยังเป็นการแสดงความมั่นใจต่อลูกค้าว่าเรามีความพร้อมในการแก้ปัญหาใก้กับลูกค้าได้ แต่ทั้งนี้ต้องเจรจาเรื่องราคาค่าจ้าง ความยากง่ายของงานให้สอดคล้องและชัดเจน

Keep Contact ลูกค้า

  • ในเมื่อเราโชว์ฝีมือ โชว์สกิลให้เป็นที่ประจักษ์ไปแล้ว อย่าลืมเด็ดขาดที่ Keep Contact กับลูกค้าเอาไว้
  • หมั่นให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์เพื่อลูกค้าเห็นว่าเรามีความสามารถและเป็นกันเอง เพราะงานฟรีแลนซ์หากได้ลูกค้าประจำคนหนึ่ง ก็เหมือนได้งานยาวๆ
  • ปรับแต่งตามที่ลูกค้าต้องการ บางครั้งอาจจะขัดกับไอเดียหรือแนวคิดของเรา ก็ต้องหาจุดกึ่งกลางให้ได้

5 ธีมแนะนำ ของ WordPress ที่น่าสนใจ

ก่อนจะจากกันไป ทางทีมงานก็มีไอเดียในการต่อยอด ซึ่งในส่วนนี้คือ 5 ธีมเว็บไซต์ของ WordPress ที่มองว่าตอบโจทย์เว็บไซต์ทุกประเภท จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

Astra

  • Astra เป็นธีม WordPress ที่รวดเร็วและปรับแต่งได้เต็มที่ เหมาะสำหรับบล็อก, พอร์ตโฟลิโอส่วนตัว, เว็บไซต์ธุรกิจ, และร้านค้าออนไลน์
  • ธีมนี้มีขนาดเบามาก (น้อยกว่า 50KB ต่อหน้า) และเด่นเรื่องความเร็วในการตอบสนองต่อคำสั่ง
  • และ Astra ก็ยังออกแบบมาโดยคำนึงถึง SEO มีรหัส Schema.org และรองรับ AMP ทำให้เครื่องมือค้นหาชื่นชอบเว็บไซต์อย่างมาก
  • ยังทำงานได้อย่างราบรื่นกับ Page Builder ยอดนิยม เช่น
  • Elementor
  • Beaver Builder
  • Visual Composer
  • SiteOrigin
  • Divi

Inspiro Blocks

  • Inspiro Blocks เป็นธีมบล็อกสำหรับ WordPress ที่รองรับ Full Site Editor ใหม่ มาพร้อมกับฟีเจอร์หลากหลาย
  • เทมเพลตมากมายปรับแต่งได้ตามต้องการ
  • บล็อกแพทเทิร์นสร้างองค์ประกอบเว็บไซต์ได้ง่าย
  • รูปแบบสีสันโดนใจ ปรับสีได้ตามใจชอบ
  • ธีมนี้เหมาะมากกับ Blogger, ช่างภาพ, ครีเอทีฟ, ธุรกิจขนาดเล็ก เพราะแสดงผลงานแบบ Grid หรือ Masonry และรองรับ GDPR ซึ่ง ปลอดภัยและมั่นใจได้

Ashe

  • Ashe เหมาะกับเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพ สุขภาพ อาหาร การทำขนม ท่องเที่ยว ความงาม และบล็อกส่วนตัว
  • ด้วยดีไซน์เรียบง่ายและสไตล์มินิมอลที่กำลังฮิตกัน ทำให้เนื้อหาในเว็บไซต์ดูเด่นและมาพร้อมคุณสมบัติ
  • WooCommerce: เหมาะสำหรับร้านค้าออนไลน์
  • รองรับการใช้งานหลายภาษา
  • SEO พร้อมช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับในการค้นหา

Zakra

  • Zakra เป็นธีม WordPress ที่ทรงพลังและยืดหยุ่นในเวลาเดียวกัน ช่วยให้สร้างเว็บไซต์ที่สวยงามและดูมืออาชีพได้ง่าย ๆ มาพร้อมคุณสมบัติเด่นมากมาย
  • ธีมสำเร็จรูปกว่า 40 แบบ: เลือกธีมที่เหมาะกับบล็อก, เว็บข่าว, ร้านค้าออนไลน์, พอร์ตโฟลิโอ, เว็บไซต์ธุรกิจ, LMS, และอื่น ๆ
  • ใช้งานง่ายแค่ลากและวางอีก ทั้งยังรองรับ Page Builder ยอดนิยม
  • Zakra ถูกออกแบบให้โหลดเร็ว รองรับมือถือด้วย Mobile-first responsive design
  • SEO Friendly ออกแบบมาให้เข้ากับเครื่องมือค้นหา ช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับได้ง่ายขึ้น

GeneratePress

  • GeneratePress เป็นธีม WordPress ที่เน้นความเบาและความเร็ว เว็บไซต์ที่ติดตั้งใหม่จะมีขนาดไม่ถึง 10kb (gzipped) ทำให้โหลดเร็วมาก
  • จุดเด่นของ GeneratePress คือ
  • รองรับ Gutenberg Editor ที่ปรับแต่งเนื้อหาได้อย่างอิสระ
  • รองรับ Page Builder ทุกตัวและใช้ร่วมกับ Beaver Builder, Elementor และอื่น ๆ ได้
  • รองรับปลั๊กอินยอดนิยม เช่น WooCommerce
  • รองรับการแปลมากกว่า 25 ภาษา

ตัวอย่าง ธีม&ปลั๊กอิน ที่น่าสนใจของ WordPress

5 ปลั๊กอินควรมีติดเว็บไซต์เอาไว้

ปลั๊กอินที่จะมาแนะนำวันนี้ หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องมีติดเว็บไว้ ด้วยฟีเจอร์และคุณสมบัติที่สำคัญ พร้อมจะพาให้เว็บไซต์ของเราโบยบินอย่างคุณภาพ ดังนั้นพลาดไม่ได้ที่จะติดตั้งปลั๊กอินเหล่านี้

YOAST SEO

  • Yoast SEO เป็นปลั๊กอินยอดนิยมเหมือนเพื่อนสนิทสำหรับคนคิดจะทำ SEO บน WordPress เพราะสามารถปรับแต่งและปรับปรุงโครงสร้างเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับหลักการ SEO
  • ถ้าหน้าเว็บมีบทความบน WordPress, YOAST SEO จะทำการวิเคราะห์และให้ฟีดแบ็คโดยใช้สัญลักษณ์
  • สีเขียว (ดี)
  • สีส้ม (ต้องปรับปรุง)
  • สีแดง (ต้องแก้ไข)
  • YOAST SEO จะตรวจสอบความยาวของข้อความ, คำหลัก, ความถี่ในการใช้คำ, และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญสำหรับ SEO
  • สามารถปรับแต่ง Meta Description และ Title Tag ให้เหมาะสมเพื่อการแสดงผลที่ดึงดูดในผลการค้นหา
  • Yoast SEO มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน แบบเสียเงินมีราคาอยู่ที่ 99 $/ปี

AKISMET

  • หากเว็บไซต์ของคุณต้องการที่จะรักษาความสะอาดและคุณภาพของคอมเมนต์ Akismet จะเป็นปลั๊กอินตัวช่วยที่ ทำหน้าที่กรองและตรวจจับคอมเมนต์สแปมและคอมเมนต์ที่ไม่เหมาะสม
  • Akismet ช่วยลดการทำงานที่ไม่จำเป็นของเรา อีกทั้งยังมีความแม่นยำสูงและใช้งานง่าย การันตีเว็บไซต์มีคุณภาพมากขึ้นแน่นอน
  • Akismet รองรับได้ถึง 73 ภาษา ทำให้สามารถใช้งานได้ทั่วโลก

Elementor

  • ปลั๊กอินตัวนี้หากใครยัง งงๆ ไม่รู้จะเริ่มสร้างหน้าเว็บยังไง Elementor คือคำตอบเพราะเป็นปลั๊กอิน Page Builder ที่ใช้งานง่ายมาก
  • สร้างเลย์เอาต์ของเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดายและอิสระและตามที่ต้องการ แค่ลากและวางเท่านั้น
  • มีหลากหลายองค์ประกอบสำเร็จรูปที่ใช้งานได้ทันสมัย เช่น เท็มเพลต, ภาพหน้าจอ, แผนที่, แบนเนอร์ เหมาะกับเว็บไซต์เกือยทุกประเภทบนโลก

WooCommerce

  • ถ้าจุดประสงค์ของหน้าเว็บไซต์ = ร้านค้า ปลั๊กอิน WooCommerce ก็คือตอบโจทย์ที่สุด โดยเฉพาะร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการระบบซื้อ-ขายที่ครอบคลุมและง่ายต่อการใช้งาน
  • WooCommerce มาพร้อมกับคุณสมบัติที่ครอบคลุมทั้งการจัดการคลังสินค้า, ระบบชำระเงิน, และการสร้างโฆษณา และเปลี่ยนโฉมเว็บไซต์ให้กลายเป็นร้านค้าเต็มรูปแบบ
  • WooCommerce มีเวอร์ชันฟรีที่ใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทำให้เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ร้านค้าได้ด้วยตัวเอง

Redirection

  • บางครั้งการเปลี่ยน URL ของเว็บไซต์ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นเมื่อต้องการปรับปรุงโครงสร้างหรือส่วนของเนื้อหา
  • แต่ทุกอย่างจะง่ายดายหากมีปลั๊กอินที่ชื่อว่า Redirection เพราะว่ามันจะช่วย
  • ช่วยให้คุณสามารถย้าย URL และตั้งค่า Redirect 301 (ถาวร)
  • ช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบและบันทึกการเรียกดูของ URL เพื่อทราบถึงการใช้งานและการเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ในเว็บไซต์
  • และยังสามารถรักษาและบริหารจัดการ URL ให้เป็นไปตามหลัก SEO ไม่ทำให้เว็บตกอันดับแน่นอน

สรุป

จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมา หากคุณอ่านแล้วตอนนี้ก็จะพร้อมในการเป็นฟรีแลนซ์นักออกแบบเว็บไซต์ WordPress แล้วแน่ๆ การเริ่มต้นเป็นฟรีแลนว์ออกแบบเว็บไซต์นั้นไม่ยาก เพียงแค่มีความตั้งใจ มีไฟและใจรัก คุณก็เป็นได้ทุกอย่าง แต่สิ่งที่จะวัดว่าคุณเหมาะกับงานนี้จริงก็คือการรักษาระดับมาตรฐานทักษะและฝีมือ เพื่อให้อยู่รอดในวงการนี้ได้นานเท่านานต่างหาก หวังว่าแนวทางทั้งหมดนี้จะเป็นเครื่องมือที่พอจะกรุยทางสำหรับมือใหม่ที่อยากเป็นนักออกแบบเว็บไซต์ ให้สามารถเข้าวงการและมีงาน+รายได้หาเลี้ยงชีพได้ยาวๆ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *