มารู้จักกับ Affiliate ว่ามีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?

Affiliate ว่ามีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?

หลายคนคงเคยเห็นโฆษณาที่มักจะประกาศหาคนทำงานที่มีเวลาว่าง 2-3 ชั่วโมงต่อวัน เพียงแค่ใช้อินเตอร์เน็ตก็สร้างรายได้มากมาย! หลายคนคงมองว่านี่คืองานปลอมหรืองานผิดกฎหมายแน่ๆ แต่เอาจริงๆ มันมีงานแบบนี้อยู่จริง! นั่นก็คืองาน “Affiliate” กลยุทธ์การตลาดออนไลน์สุดปัง ที่จะเปลี่ยนโลกออนไลน์ของคุณให้กลายเป็นแหล่งรายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

Affiliate คืออะไร?

  • Affiliate คืออะไร? ง่ายๆ ก็คือ การเป็นตัวแทนขายสินค้าออนไลน์ โปรโมทสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของเรา
  • เมื่อมีคนซื้อผ่านลิ้งค์ของเรา คุณก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากร้านค้าที่เราไปรับลิงค์มาโรโมท เหมือนมีร้านค้าออนไลน์ส่วนตัวโดยไม่ต้องลงทุนสักบาท!
  • ฟังดูน่าสนใจใช่ไหมล่ะ! บทความนี้แหละที่จะพาทุกท่านไปเจาะลึกเกี่ยวกับ Affiliate ว่าคืออะไร? ทำงานยังไง? มีแบบไหนบ้าง

ที่มาของ Affiliate

  • คำว่า “Affiliate” หมายถึงพันธมิตร หรือคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งก็สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานของมัน ที่เรากับธุรกิจ/ร้านค้าเป็นพันธมิตรในการขายสินค้า/บริการ ต่างคนต่างได้ประโยชน์
  • Affiliate Marketing เริ่มขึ้นในปี 2017 เมื่อบริษัท Amazon เปิดตัวโปรแกรมพันธมิตรแก่ผู้สนใจที่จะสร้างรายได้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการตลาดแบบพันธมิตรในโลกออนไลน์
  • โปรแกรมนี้ได้รับเสียงตอบรับดีอย่างล้นหลามและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นต้นแบบให้กับบริษัทอื่น ๆ

กลไกการทำงานของ Affiliate

  • Affiliate Marketing ทำงานโดยมีเสาหลัก 3 ต้น ได้แก่
  • ผู้ขาย (Merchant หรือ Advertiser) – บริษัทหรือร้านค้าที่ต้องการขายสินค้า/บริการ
  • พันธมิตร (Affiliate) – บุคคลหรือองค์กรที่โปรโมทสินค้า/บริการของผู้ขายผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ บล็อก โซเชียลมีเดีย
  • ผู้บริโภค (Consumer) – ผู้ที่ซื้อสินค้า/บริการผ่านการโปรโมทของพันธมิตร
  • ที่นี้เรามาดูกันว่ากลไกการทำงานของ Affiliate มีอะไรบ้างในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายๆ
  • เริ่มต้นโดยการสมัครเข้าร่วมโปรแกรมพันธมิตรของบริษัทหรือเว็บไซต์ที่รองรับระบบ Affiliate Marketing โดย บริษัท/ร้านค้า จะให้ลิงก์เฉพาะตัว (Affiliate Link) ที่ใช้ในการโปรโมท
  • หากเราจะเป็นคนโปรโมท สินค้า/บริการ ก็ต้องเลือกสินค้าหรือบริการที่เราคิดว่า เราสามารถนำเสนอให้น่าสนใจได้ กระตุ้นการขายได้ ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราเล็งไว้
  • จากนั้นเราก็ใช้ช่องทางออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์, บล็อก, โซเชียลมีเดีย, หรือช่อง YouTube เพื่อโปรโมทสินค้า/บริการ นั้น พร้อมกับแปะลิงค์เฉพาะตัว (Affiliate Link) ที่เรารับมาจากร้านค้า/ธุรกิจ
  • เมื่อผู้บริโภคคลิกลิงก์และทำการซื้อสินค้าหรือกระทำกิจกรรมอื่นๆ ตามที่ธุรกิจกำหนดผ่านทางลิงค์ของเราที่ทำการโปรโมทไป ระบบก็จะบันทึกว่าการกระทำครั้งนี้มาจากลิงค์ของคุณ
  • บริษัท/ร้านค้า ก็จะจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้ตามที่ตกลงไว้ โดยค่าคอมมิชชั่นอาจเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายหรือจำนวนเงินที่กำหนดตายตัวก็ได้

กลไกการทำงานของระบบ Affiliate แบบภาพรวม

ประโยชน์ของการทำ Affiliate Marketing

  • Affiliate Marketing เป็นหนึ่งในวิธีการที่น่าสนใจในกลยุทธ์การตลาดและการสร้างรายได้เสริม เรามาดูกันว่าประโยชน์ของการทำ Affiliate Marketing มีอะไรบ้าง
  • ประโยชน์ของ Affiliate ท่ีมีต่อผู้แนะนำหรือพันธมิตร
  • ค่าใช้จ่ายไม่สูง : ไม่ต้องลงทุนมากมาย เพียงสมัครเข้าร่วมโปรแกรมพันธมิตรและเริ่มโปรโมท
  • สร้างรายได้เสริม : โปรโมทได้ทุกที่ทุกเวลา แค่มีอินเทอร์เน็ตในมือ
  • ไม่ต้องสต็อกสินค้า : ใครสนใจอยากหารายได้จากการขายออนไลน์ Affiliate นั้นตอบโจทย์เพียงแค่โปรโมทและปล่อยให้ผู้ขายทำงานส่วนที่เหลือ
  • ประโยชน์ของ Affiliate ท่ีมีต่อธุรกิจ/ร้านค้า
  • เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจ : ผู้ขายได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย และเพิ่มยอดขายและขยายการรับรู้ของแบรนด์
  • ขยายฐานลูกค้า : หากพันธมิตรของเราเป็นคนมีชื่อเสียงหรือฐานมีผู้ติดตามเยอะ เท่ากับว่า ธุรกิจ/ร้านค้าของเรา ได้ขยายฐานลูกค้าตามไปด้วย
  • ลดต้นทุนการตลาด : Affiliate Marketing เป็นกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์เรื่องต้นทุนการตลาดที่ไม่สูงเพราะธุรกิจจะจ่ายค่าคอมมิชชั่นเมื่อเกิดการขายเท่านั้น

ประโยชน์ของการตลาดแบบ Affiliate

ตัวอย่างรูปแบบการทำงานของ Affiliate ที่พบบ่อย

  • การทำ Affiliate Marketing มีหลายรูปแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเพราะในยุคดิจิทัลแบบนี้ ช่อางทางออนไลน์นั้นมีมากมาย มาดูกันว่ารูปแบบไหนที่เป็นที่นิยมและมันทำงานยังไง
  • Affiliate ผ่านเว็บไซต์
  • เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด Affiliate จะสร้างเว็บไซต์หรือบล็อกและนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ
  • พร้อมกับใส่ลิงค์ Affiliate ไว้ในเนื้อหา เมื่อมีผู้ชมคลิกลิงค์และซื้อสินค้าผ่านลิงค์นั้น Affiliate จะได้รับค่าคอมมิชชั่น
  • Affiliate ผ่านโซเชียลมีเดีย
  • Affiliate จะใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, Twitter โปรโมทสินค้าหรือบริการ
  • ใส่ลิงค์ Affiliate ไว้ในโพสต์ เมื่อมีผู้ติดตามคลิกลิงค์และซื้อสินค้าผ่านลิงค์นั้น Affiliate จะได้รับค่าคอมมิชชั่น
  • Affiliate ผ่านวิดีโอ
  • Affiliate จะสร้างวิดีโอรีวิวสินค้าหรือบริการพร้อมกับอัปโหลดวิดีโอลงบน YouTube หรือแพลตฟอร์มวิดีโออื่นๆ ที่คิดว่าจะเข้าถึงผู้คนได้
  • ใส่ลิงก์ Affiliate ในคำอธิบายวิดีโอหรือในตัววิดีโอ(ถ้ามีฟีเจอร์แปะลิงค์) เมื่อผู้ชมคลิกและซื้อสินค้า Affiliate จะได้รับค่าคอมมิชชั่น
  • Affiliate ผ่านอีเมล
  • Affiliate ส่งอีเมลโปรโมชั่นสินค้าพร้อมลิงก์ Affiliate ให้กับรายชื่อสมาชิก
  • เมื่อสมาชิกคลิกและซื้อสินค้าผ่านลิงก์ในอีเมล ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่น

ประเภทของ Affiliate ในโลกใบนี้

หากอ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนเข้าใจแล้วว่าการทำ Affiliate นั้นคืออะไร ทำงานยังไง แต่อย่าเพิ่งเข้าใจว่า Affiliate นั้นมีรูปแบบการจ่ายค่าคอมมิชชั่นเพียงแบบเดียว คือ จ่ายค่าคอมฯ เมื่อเกิดการขายเท่านั้น ซึ่งอันนี้ประเภทนี้จะนิยมที่สุดเพราะมันแฟร์กับทั้งผู้ขายและคนโปรโมท แต่ในความเป็นจริง Affiliate Marketing นั้นมีหลายประเภทตามรูปแบบการจ่ายเงินดังนี้

1. Pay-Per-Sale (PPS)

  • อย่างที่บอกไปว่ารูปแบบนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ ธุรกิจ/ร้านค้า จะจ่ายค่าคอมมิชชั่นเมื่อมีการขายเกิดขึ้นเท่านั้น
  • การทำ Affiliate ประเภทนี้เหมาะกับมือโปรหรือคนที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก เน้นสร้างพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบจริงจัง
  • ซึ่งจำนวนค่าคอมมิชชั่นนั้นก็ตามที่ได้ตกลงกับธุรกิจ/ร้านค้า ซึ่งส่วนมากทางร้านค้าจะระบุไว้ก่อนเริ่มสมัครเป็นพันธมิตรแล้วว่าจะได้กี่เปอร์เซ็นต์หรือได้ตายตัวเท่าไหร่
  • ข้อดี : คนโปรโมทได้รับค่าตอบแทนสูงเนื่องจากคิดจากยอดขาย และธุรกิจได้ยอดขายจริง มีประสิทธิภาพสูง
  • ข้อเสีย : ผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นอาจจะยากในการโปรโมทแข่งขันกับคนที่มีฐานผู้ติดตามจำนวนเยอะแต่เดิม

2. Pay-Per-Click (PPC)

  • ประเภทต่อมาเป็นการโปรโมทโดยที่พันธมิตรจะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการที่มีคนคลิกลิงค์ Affiliate ทันที แม้ว่าจะเกิดการซื้อขายหรือไม่ก็ตาม
  • รูปแบบ Affiliate นี้เหมาะกับมือใหม่กำลังต้องการสร้างรายได้ โดยเน้นการสร้าง Traffic ระหว่างเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มไปก่อน
  • ข้อดี : กลยุทธ์แบบนี้ทำงานง่ายกว่าแบบ PPS คือไม่จำเป็นต้องเกิดการซื้อขาย เน้นแค่จำนวนที่ต้องการให้เกิดการคลิกลิงค์เท่านั้น
  • ข้อเสีย : รายได้จะน้อยกว่าแบบ PPS และยังเสี่ยงต่อการโดน Report เพราะส่วนใหญ่คนมักจะนำลิงค์ไปแปะไว้มั่วซั่ว ไม่มีการคัดกรองโพสต์ก่อนจะแปะลิงค์

3. Pay-Per-Lead (PPL)

  • รูปแบบ Affiliate Marketing ที่หลายคนอย่าทำมากที่สุด! เหมาะกับมือใหม่ที่ต้องการสร้างรายได้แบบไม่ต้องรอขาย
  • รายได้ใน Affiliate ประเภทนี้จะเกิดจากการเก็บ Lead ของผู้คน เพียงแค่มีคนกรอกข้อมูลหรือสมัครสมาชิกผ่านลิงค์ที่เราโปรโมท ก็สามารถรับค่าคอมมิชชั่นไปเลยทันที!
  • Lead = กลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะสนใจสินค้าหรือบริการของธุรกิจแต่ยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อ พวกเขามีข้อมูลติดต่อ เช่น ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล และแสดงความสนใจในสิ่งที่ธุรกิจนำเสนอ
  • ข้อดี : ไม่ต้องรอให้เกิดการขาย เพียงแค่มีคนกรอกข้อมูลก็ได้รับค่าตอบแทน
  • ข้อเสีย : ด้วยกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่มิจฉาชีพค่อนข้างเยอะ การกรอกข้อมูลตามลิงค์ต่างๆ จึงเป็นที่กังวลต่อผู้คนมากมาย

4. Two-Tier Affiliate Programs

  • ประเภทของ Affiliate นี้ หากพูดง่ายๆ ก็จะมีรูปแบบคล้ายกับแชร์ลูกโซ่ แต่แตกต่างกันที่การทำงานเป็นของจริง ขายจริงจ่ายจริง
  • โดยรูปแบบการทำการของประเภทนี้คือ พันธมิตรสามารถสร้างเครือข่ายให้มีพันธมิตรลำดับที่ 2 (Tier 2) ต่อจากตัวเอง
  • ค่าคอมมิชชั่นที่เกิดจากการขายก็จะแตกต่างตามลำดับขั้นของแต่ละพันธมิตร ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น tier1/tier2 (ค่าคอมมิชชั่น 10%/5%) ซึ่งบางเงื่อนไขพันธมิตรลำดับแรก (Tier 1) จะได้ส่วนแบ่งจาก Tier 2 ด้วย
  • ข้อดี : พันธมิตรมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มจากการเชิญชวนพันธมิตรใหม่มาร่วมในเครือข่าย
  • ข้อเสีย : ผู้คนมองว่าเป็นแชร์ลูกโซ่และมองว่า Tier ลำดับล่างนั้นมีความเสียเปรียบ จึงไม่สนใจอยากร่วมงานรูปแบบนี้มากนัก

5. Recurring Affiliate Programs

  • โปรแกรม Affiliate แบบ Recurring คือ โปรแกรม Affiliate ที่จ่ายค่าคอมมิชชั่น ให้กับ Affiliate เป็นประจำหรือทุกครั้งที่มีการเรียกเก็บเงิน จากลูกค้า
  • ต่างจากโปรแกรม Affiliate ทั่วไป ที่จ่ายค่าคอมมิชชั่นเพียงครั้งเดียวเมื่อมีการขาย / คลิก /Lead สินค้าหรือบริการ
  • อธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้น เช่น บริการสตรีมมิ่ง ที่จะจ่ายค่าคอมมิชชั่นทุกครั้งที่ลูกค้าจ่ายเงินซื้อบริการแบบต่อเนื่องจากลิงค์ที่เราแนะนำ
  • ข้อดี : สินค้าและบริการที่มีการทำ Affiliate แบบนี้มีแนวโน้มที่ลูกค้าจะใช้งานสินค้าหรือบริการต่อเนื่อง สร้างรายได้อย่างมั่นคงระยะยาวให้พันธมิตร
  • ข้อเสีย : มีการแข่งขันสูงและธุรกิจที่มีระบบประเภทนี้ ยังค่อนข้างจำกัด ไม่ได้มีหลากหลายเหมือนประเภทข้างต้น

6. Cost-Per-Action (CPA)

  • Affiliate ประเภทนี้ พันธมิตรจะได้รับเงินเมื่อมีคนทำกิจกรรมบางอย่างหรือทำตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นหรือการลงทะเบียน ซึ่งรูปแบบจะคล้ายกับ PPL
  • ส่วนใหญ่ธุรกิจประเภทนี้จะขายสินค้าหรือบริการเทคโนโลยี เช่น แอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์มที่ต้องสมัครสมาชิก ระบบซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ต้องใช้การติดตั้ง/ดาวน์โหลด เป็นตัวชี้วัด
  • ข้อดี : ส่วนใหญ่จะเป็นการโปรโมทและนำเสนอสินค้าแบบออนไลน์ ผู้ขายที่ถนัดสายนี้จะได้เปรียบในด้านความน่าเชื่อถือ
  • ข้อเสีย : การแข่งขันค่อนข้างสูง มี Affiliate จำนวนมากที่โปรโมทสินค้าเดียวกัน

ประเภทของ Affiliate ตามการจ่ายเงิน

ตัวอย่าง Affiliate ที่น่าสนใจในประเทศไทย

ในเมื่อเราได้รู้ลึกเกี่ยวกับ Affiliate ไปแล้ว หลายๆ คนคงเริ่มสนใจอยากจะมีรายได้เสริมจากทางนี้บ้าง ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าในเมืองไทยของเรา มีระบบ Affiliate จากแหล่งไหนบ้างที่น่าสนใจ แต่ละแหล่งมีข้อดีหรือจุดเด่นคืออะไร เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการช่วยตัดสินใจสำหรับใครที่กำลังมองหาระบบ Affiliate อยู่

ตัวอย่าง Affiliate สินค้าทั่วไป

Shopee Affiliate

  • Shopee Affiliate โปรแกรม Affiliate ยอดนิยมจาก Shopee แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำของไทย
  • ระบบ Affiliate ของ Shopee มอบโอกาศในการรับค่าคอมมิชชั่นสูงสุดถึง 28% เพียงแค่แชร์ลิงค์สินค้าผ่านช่องทาง โซเชียลต่างๆ ที่เรามี
  • จุดเด่นของ Shopee Affiliate
  • สมัครฟรี!
  • เริ่มต้นง่ายๆ แค่แชร์ลิงก์
  • หลากหลายสินค้าให้เลือกโปรโมท
  • ค่าคอมมิชชั่นสูงสุดถึง 28%
  • ติดตามผลเช็คยอดขายและรายได้แบบเรียลไทม์
  • เครื่องมือครบครัน มีแบนเนอร์ ลิงก์ และเครื่องมืออื่นๆ ให้ใช้ฟรี!
  • ทีมงานพร้อมสนับสนุน
  • และยังได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น
  • โบนัสค่าคอมมิชชั่นพิเศษช่วง Big Campaign
  • มีสิทธิได้คูปองส่วนลดพิเศษและสินค้าไปใช้ฟรี (ในบางกรณีเท่านั้น)

Lazada Affiliate

  • Lazada เป็นอีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ของวงการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเช่นกัน ดังนั้น ระบบ Affiliate จึงมีรองรับแน่นอน
  • ค่าคอมมิชชั่นสำหรับการทำ Affiliate กับ Lazada นั้นสูงสุดถึง 80% !!
  • ระบบการทำงานก็คล้ายกับทั่วไปคือ สมัครรับลิงก์ไปโปรโมทจากนั้นรอรับค่าคอมมิชชั่นหากมีคนกดซื้อสินค้าจากลิงก์ของเรา
  • จุดเด่นของ Lazada Affiliate
  • สมัครฟรี!
  • เริ่มต้นง่ายๆ แค่แชร์ลิงก์
  • ค่าคอมมิชชั่นสูงสุดถึง 80%
  • หาก Influencer คนไหนมีผู้ติดตามเกิน 3,000 คน มีโอกาสใช้สินค้าจากแบรนด์ที่ต้องการร่วมงานฟรี!
  • มีโบนัสค่าคอมมิชชั่นสูงสุดถึง 9,000 บาท

Priceza Affiliate

  • เว็บไซต์สำหรับทำ Affilate โดยเฉพาะ Priceza เน้นการตลาดแบบ Affiliate โดยเฉพาะและร่วมงานกับแบรนด์อีคอมเมิร์ซหลายเจ้า เช่น
  • Lazada
  • Central
  • JD
  • ความแตกต่างของ Priceza กับที่อื่นคือ Priceza ใช้ระบบจ่ายค่าคอมมิชชั่นแบบ Pay-Per-Click ซึ่งจะคิดค่าตอบแทนโดยรายได้ต่อคลิกทีแปรผันตามอัตราการซื้อที่เกิดขึ้นจริงหรือมูลค่าสินค้าที่ขายบนร้านค้า
  • การคำนวณค่าคอมมิชชั่นนั้นหากร้านค้าใดใช้แบบ PPC (Pay-Per-Click) จะมีเรทโดยประมาณอยู่ที่ คลิกละ 0.1 – 2 บาท
  • หากร้านค้าใดเลือกใช้แบบ Commission จากยอดขายหรือราคาสินค้า จะมีเรทอยู่ที่ 12-20%
  • พันธมิตรมีสิทธิได้รับโบนัสหากทำตามเงื่อนไข สร้างฐานลูกค้าใหม่ให้กับร้านค้าหรือสร้าง Order ในปริมาณที่มาก
  • ระบบของ Priceza ถือว่ามีความฉลาดมากเพราะทาง Priceza แก้ปัญหา dead link ด้วยการที่ระบบจะหาสินค้าทดแทนอัตโนมัติ

ตัวอย่าง Affiliate โปรแกรมบริการ

Traveloka Affiliate

  • Traveloka หลายคนคงคุ้นชื่อกับแพลตฟอร์มนี้โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจะเคยใช้บริการแอพลิเคชั่นนี้ดี แต่รู้ไหมว่า Traveloka ก็มีระบบ Affiliate สำหรับผู้ที่สนใจเช่นกัน
  • โดยคอนเซปต์ก็คล้ายกับ Affiliate ที่ขายสินค้าผ่านลิงก์แต่ กรณีนี้จะเน้นการจองที่พัก ตั๋วเครื่องบิน และกิจกรรมต่างๆ
  • เงื่อนไขของ Traveloka Affiliate
  • รับค่าคอมมิชชั่นเป็น Traveloka Points
  • อัตราคอมมิชชั่นขึ้นอยู่กับประเภทที่พักและผู้ใช้

ที่พัก 3 ดาวและต่ำกว่า: สูงสุด 3% สูงสุด 400,000 แต้ม (ผู้ใช้ใหม่) / 250,000 แต้ม (ผู้ใช้เดิม)

ที่พัก 4 ดาวและสูงกว่า: สูงสุด 5% สูงสุด 400,000 แต้ม (ผู้ใช้ใหม่) / 250,000 แต้ม (ผู้ใช้เดิม)

สินค้า Xperience (ไม่รวมทัวร์): สูงสุด 3% สูงสุด 50,000 แต้ม (ผู้ใช้ใหม่) / 2% สูงสุด 25,000 แต้ม (ผู้ใช้เดิม)

ทัวร์จาก Xperience: สูงสุด 5% สูงสุด 400,000 แต้ม (ผู้ใช้ใหม่) / 4% สูงสุด 400,000 แต้ม (ผู้ใช้เดิม)

  • ผู้ใช้ต้องคลิกลิ้งค์ Affiliate ของคุณภายใน 7 วันก่อนการจอง
  • เฉพาะการจองผ่านแอป Traveloka เวอร์ชั่น 3.97.0 (Android/iOS) โดยผู้ใช้ที่ล็อกอินเท่านั้น ที่นับเป็นยอด Affiliate
  • การจองแบบชำระเงินปลายทาง (Pay Upon Check In) สำหรับห้องพักแบบคืนเงินได้ ไม่นับเป็นยอด Affiliate

Agoda Affiliate

  • อีกหนึ่งโปรแกรม Affiliate สำหรับบริการที่พัก ท่องเที่ยวและตั๋วเครื่องบิน ที่มีความโดดเด่นจากเงื่อนไขการเป็นพันธมิตรกับ Agoda ดังนี้
  • อัตรา Conversion Rate สูง : มีโอกาสสูงที่ผู้คลิกลิงก์จะทำการจองที่พักกับ Agoda
  • ค่าคอมมิชชั่นคุ้มค่า: สูงถึง 6% ของยอดจอง (ไม่รวมภาษี)
  • คุกกี้มีอายุ 1 วัน: หากผู้คลิกลิงก์ของคุณภายใน 1 วันแล้วจองที่พัก คุณจะได้รับคอมมิชชั่น
  • ซึ่งความน่าสนใจของ Agoda ทำให้มีคนทำระบบ Affilate กับ Agoda มาอย่างยาวนาน สถิติเบื้องหลังเปิดเผยว่า Agoda จ่ายค่าคอมมิชชั่นให้กับเหล่าพันธมิตรไปแล้วกว่า 72 ล้าน ดอลล่าห์ตั้งแต่ปี 2011

สรุป

Affiliate โดยรวมแล้วคำนี้มีความหมายว่าพันธมิตร ซึ่งหากเราพูดถึง Affiliate Marketing หลายคนอาจจะเหมารวมว่าเป็นโปรแกรมพันธมิตรที่ทำรายได้จากยอดขายผ่านลิงก์ที่โปรโมท แต่ความจริงแล้ว Affiliate สามารถประยุกต์ใช้เข้ากับทุกการกระทำไม่ใช่เฉพาะกับยอดขายเท่านั้น แต่รวมไปถึง การคลิกลิงก์ การสมัครสมาชิกผ่านลิงก์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนนับว่าเป็นการตลาดแบบ Affiliate ทั้งสิ้น ซึ่งเรื่องราวของซีรี่ย์ Affiliate นั้นยังไม่จบเพียงเท่านี้ บทความถัดไปจากนี้จะเริ่มเจาะลึกให้สนุกเข้มข้นกว่าเดิม อย่าลืมติดตามกลยุทธ์การตลาดยุคใหม่นี้ให้ดีเพราะมันอาจจะเปลี่ยนแนวคิดมุมองการตลาดเดิมๆ ของคุณได้เลย!