รวมช่องทางการขายของออนไลน์ปี 2024 พร้อมคำแนะนำเบื้องต้น

รวมช่องทางการขายของออนไลน์ปี 2024

ภาพรวมของการขายของออนไลน์ในปี 2024

อาชีพขายของออนไลน์เติบโตมาอย่างต่อเนื่องในไม่กี่ปีมานี้ ซึ่งหากมองจากภาพรวมแล้วก็ต้องมองจากยุคสมัยนี้ที่เริ่มมีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำแบบขาดไม่ได้ จนกำเนิดอาชีพขายของออนไลน์ขึ้นมาจำนวนมากทดแทนการขายของแบบมีหน้าร้าน การขายของออนไลน์นี้เองที่กลายเป็นแหล่งตลาดของผู้คนในโซเชียลหากเปรียบเทียบกับการเดินทางแล้วการขายของออนไลน์กำลังอยู่ในช่วงระหว่างที่กำลังเก็บเกี่ยวและเติบโตในระหว่างทางอย่างเต็มที่

แนวโน้มและเทรนด์ของการขายของออนไลน์

  • การขายของออนไลน์ ณ ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมากมายเข้ามาประยุกต์ใช้ในแทบจะทุกด้าน เช่น
  • การใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI
  • การใช้ Big Data ในการทำการตลาด
  • แพลตฟอร์มโซเชียลที่มีคุณสมบัติต่างๆ
  • การใช้เทคโนโลยี AR/VR
  • เลี่ยงไม่ได้เลยสำหรับยุคนี้ที่มีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการขายของออนไลน์ เคยบ้างไหมเวลาที่เราแค่คิดถึงสินค้าบางอย่างในหัวก็เหมือนร้านขายของต่างๆ จะได้ยินรู้ตัวอีกทีสินค้าก็ขึ้นมาเต็มหน้าฟีด
  • นั่นไม่ใช่เพราะความบังเอิญหรือเวทมนต์ใดๆ ทั้งสิ้น แต่คือการวิเคราะห์ของ AI ที่จับพฤติกรรมการดูและรับชมสินค้าเพื่อนำมาพัฒนา แนะนำสินค้าที่ใกล้เคียงให้กับเรานั่นเอง
  • การทำงานเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ Big Data หรือฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อนำมากลั่นกรองวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าทั้งสิ้น
  • อีกทั้งแนวโน้มของแพลตฟอร์มต่างๆ ก็เริ่มปรับให้มีการใช้ AI และเทคโนโลยีใหม่ๆในการนำเสนอขายเช่น
  • การใช้เทคโนโลยี AR ในการลองสินค้าประเภทเครื่องสำอาง
  • การสร้างประสบการณ์เสมือนจริงในการช้อปปิ้ง
  • ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในการขายของออนไลน์สำหรับยุคนี้ทั้งสิ้น

การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค

  • แอปพลิเคชันช้อปปิ้งมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคจนทำให้พฤติกรรมในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคส่วนใหญ่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
  • ปัจจัยในการทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เปลี่ยนพฤติกรรมมาช้อปปิ้งออนไลน์กันมากขึ้นคือ
  • การค้นหาข้อมูลและอ่านรีวิวสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ
  • การรับข้อเสนอพิเศษและโปรโมชั่นสุดปัง เฉพาะแพลตฟอร์มออนไลน์เท่านั้น
  • การติดตามและรับข้อมูลจาก Influencer
  • ความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้า
  • การที่สังคมไร้เงินสด ผู้คนหันมาใช้การชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันและวอลเล็ทดิจิทัลเพิ่มขึ้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดออนไลน์

  • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ช่วยให้การทำตลาดและการขายสินค้าออนไลน์มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การใช้งานสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกทำให้การเข้าถึงการซื้อขายออนไลน์เป็นไปได้ง่ายขึ้น
  • ผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับการช้อปปิ้งออนไลน์และเชื่อมั่นในความสะดวกสบายและความรวดเร็ว
  • แพลตฟอร์มการขายออนไลน์ เช่น Amazon, Alibaba, Lazada, Shopee รวมถึงแอปพลิเคชันช้อปปิ้งต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
  • การเปิดโอกาสให้ธุรกิจออนไลน์สามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ง่ายขึ้นผ่านแพลตฟอร์มการค้าระหว่างประเทศ

ช่องทางการขายของออนไลน์ที่ได้รับความนิยม

ในเมื่อการขายของออนไลน์เปรียบเสมือนตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ดังนั้นการจะเข้าไปสู่ตลาดแห่งนี้ย่อมต้องพึ่งพาช่องทางต่างๆในการขาย ซึ่งในปัจจุบันมีช่องทางมากมายสำหรับการขายของออนไลน์ และช่องทางเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้คนนิยมใช้ทั้งสำหรับขายสินค้าและซื้อสินค้า

อีคอมเมิร์ซ (E-commerce)

ช่องทางหลักของการขายของออนไลน์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าคือช่องทาง E-commerce ซึ่งก็คือการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ โดยลูกค้าสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน เป็นต้น

การขายบนเว็บไซต์ส่วนตัว

  • ช่องทาง E-commerce แรกที่จะแนะนำก็คือการขายของบนเว็บไซต์ส่วนตัวของธุรกิจนั่นเอง
  • ตัวอย่างเว็บไซต์ของบริษัทที่เปิดขายของด้วยตนเอง
  • Apple : บริษัทขายอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์หลายประเภท
  • Uniqlo : ร้านค้าจำหน้าเสื้อผ้า
  • Adidas : ร้านค้าเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา
  • ข้อดีของการขายบนเว็บไซต์ส่วนตัว:
  • ควบคุมได้เต็มรูปแบบ: ธุรกิจสามารถออกแบบเว็บไซต์ กำหนดราคา นโยบายการจัดส่งและบริการลูกค้าได้ตามต้องการ
  • ไม่มีส่วนแบ่งการตลาด: คุณสามารถสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งและโดดเด่นโดยปราศจากคู่แข่งและส่วนแบ่งการตลาด
  • ประหยัดค่าธรรมเนียม: ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือหักเปอร์เซ็นให้กับแพลตฟอร์มต่างๆ
  • ข้อเสียของการขายบนเว็บไซต์ส่วนตัว:
  • ต้องลงทุน: คุณต้องลงทุนในการสร้างและดูแลรักษาเว็บไซต์ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
  • ต้องทำการตลาด: ก่อนที่ลูกค้าจะเข้าถึงเว็บไซต์ของร้านค้าได้ ก็ต้องทำการตลาดเว็บไซต์เพื่อดึงดูดลูกค้า
  • ควบคุมระบบทั้งหมด: ระบบต่างๆ ในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการขายต้องควบคุมเองทั้งหมด เช่น ระบบการชำระเงิน ระบบการจัดส่งระบบการแจ้งปัญหา เป็นต้น

การขายผ่าน E – Commerce platform ในไทย

  • E – Commerce platform ก็คือแพลตฟอร์ม E-commerce แบบสำเร็จรูปที่ผู้ออกแบบมีจุดประสงค์ก็เพื่อ รองรับพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ มาเปิดร้านบนแพลตฟอร์มโดยเก็บค่าธรรมเนียมจากการขายสินค้าเป็นค่าใช้จ่าย
  • แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเหล่านี้ช่วยให้ผู้ขายสามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนสร้างร้านค้าของตัวเอง ตัวอย่างแพลตฟอร์มที่รู้จักกันดี เช่น
  • Shopee : แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในไทย มีเข้าชมเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น 84.7 ล้านครั้งต่อเดือน และเป็นแพลตฟอร์มช้อปปิ้งอันดับ 1 ของไทย (อ้างอิงจาก shopee.co.th Traffic Analytics, Ranking & Audience [May 2024] | Similarweb)
  • Lazada : หาก Shopee คืออันดับ 1 Lazada ก็ตามติดมาเป็นอันดับ 2 ของแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่ใหญ่ที่สุดในไทย ด้วยการเข้าชมกว่า 31.6 ล้านครั้งต่อเดือน (อ้างอิงจาก lazada.co.th Traffic Analytics, Ranking & Audience [May 2024] | Similarweb )
  • Kaidee : อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่กำลังทำการตลาด E-commerce อย่างรุนแรง โดยมีความนิยมจากผู้บริโภคโดยเฉลี่ย 3 ล้านครั้งต่อเดือนในการเข้าชมเว็บไซต์ (อ้างอิงจาก kaidee.com Traffic Analytics, Ranking & Audience [May 2024] | Similarweb )
  • ข้อดีของการขายผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
  • เข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น: ร้านค้าสามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนมากนัก ฐานลูกค้ามาจากแพลตฟอร์มนั้นทำการโปรโมทตัวเอง ร้านค้าจึงได้ประโยชน์จากส่วนนี้
  • ใช้งานง่าย: แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ใช้งานง่ายไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านไอที ผู้คนส่วนใหญ่จึงนิยมใช้
  • จ่ายค่าธรรมเนียมตามผล: ร้านค้าจะจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับแพลตฟอร์มก็ต่อเมื่อมีการขายสินค้าเกิดขึ้น โดยเรทการจ่ายก็แตกต่างกันไปตามชนิดสินค้า
  • มีระบบการชำระเงินที่หลากหลาย: แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรองรับการชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆ เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต เงินโอน และเก็บเงินปลายทาง
  • มีระบบการติดตามสินค้า: ลูกค้าสามารถติดตามสถานการณ์การจัดส่งสินค้าได้ ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดี
  • มีระบบการให้คะแนนและรีวิว: หลังจากได้ประสบการณ์ซื้อสินค้าที่ดี ลูกค้าสามารถให้คะแนนและรีวิวสินค้าทำให้ส่งผลต่ออัลกอริทึ่มของร้านค้าในแพลตฟอร์มนั้น
  • ข้อเสียของการขายผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
  • การแข่งขันสูง : เมื่อแพลตฟอร์มเป็นที่นิยมย่อมหมายความว่ามีร้านค้าจำนวนมากบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่ธุรกิจของเราต้องแข่งขันเพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้า
  • ต้องปฏิบัติตามกฎของแพลตฟอร์ม: ร้านค้าต้องปฏิบัติตามกฎของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ มิฉะนั้นจะส่งผลต่อร้านค้าแน่นอน ทั้งเรื่องการมองเห็นสินค้าอัลกอริทึ่มต่างๆ โดยร้านค้าจะมีคะแนนความประพฤติอยู่ภายในระบบหลังบ้าน
  • ไม่สามารถออกแบบร้านค้า: ธุรกิจไม่สามารถออกแบบหน้าตาของร้านค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้ เพราะเป็นแพลตฟอร์มแบบสำเร็จรูป
  • ช่วงหลังเจอสินค้าจากต่างประเทศที่ถูกกว่าเข้ามาแย่งตลาด

การขายบนเว็บ E-commerce ต่างประเทศ

  • E-Comerce แพลตฟอร์มของต่างประเทศก็มีรูปแบบและคอนเซปต์หลักเหมือนกับ E-commerce ในเมืองไทยบ้านเรา
  • พ่อค้า/แม่ค้า เข้ามาเปิดร้านบนแพลตฟอร์มนั้นแลพแพลตฟอร์มก็จะเก็บค่าธรรมเนียม แต่ความแตกต่างหลักๆ อยู่กลุ่มลูกค้ามากกว่า
  • E-commerce ในไทยเน้นกลุ่มลูกค้าคนไทย เทรนด์สินค้าในประเทศไทย แต่ของต่างประเทศหมายถึงลูกค้าจากทั่วโลก แตกต่างทั้งภาษา วัฒนธรรม
  • ตัวอย่างเว็บไซต์ E-Commerce ต่างประเทศที่ผู้คนนิยมกัน เช่น
  • Amazon
  • เว็บ E-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีผู้เข้าใช้งานมากกว่า 2.3 พันล้านคนต่อเดือน (อ้างอิงจาก amazon.com Traffic Analytics, Ranking & Audience [May 2024] | Similarweb)
  • เหมาะสำหรับสินค้าหลากหลายประเภท ตั้งแต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน ไปจนถึงสินค้าเฉพาะกลุ่ม
  • ระบบการขายที่หลากหลาย คุณสามารถขายสินค้าแบบ Self-Fulfillment (จัดส่งสินค้าเอง) หรือ Fulfillment by Amazon (FBA) ให้ Amazon จัดการสินค้าและจัดส่งให้
  • eBay
  • เว็บ E-commerce สำหรับการประมูลสินค้า เหมาะสำหรับสินค้ามือสอง สินค้าหายาก และสินค้าสะสม
  • รองรับการขายสินค้าหลากหลายประเภททั้งสินค้าใหม่และสินค้ามือสอง
  • สถิติผู้ใช้งานต่อเดือนกว่า 700 ล้านคนทั่วโลก
  • ข้อดีของการขายบนเว็บ E-commerce ต่างประเทศ
  • เข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น: เว็บไซต์ E-Commerce ต่างประเทศนั้นสามารถเข้าถึงลูกค้าจากทั่วโลก ไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย เหมือนประกาศขายสินค้าให้คนทั้งโลกได้เห็น
  • เพิ่มโอกาสในการขาย: เมื่อเว็บไซต์เข้าถึงคนจากทั่วโลกย่อมหมายความว่ามีลูกค้าจำนวนมากขึ้นบนเว็บ E-commerce ต่างประเทศ จึงมีโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น
  • สร้างรายได้มหาศาล: หากประสบความสำเร็จ ธุรกิจสามารถสร้างรายได้มหาศาลจากการขายสินค้าบนเว็บ E-commerce ต่างประเทศเหล่านี้
  • ข้อเสียของการขายบนเว็บ E-commerce ต่างประเทศ
  • การแข่งขันสูง: เมื่อขยายจากประเทศไทยเข้าสู่ตลาดโลก ย่อมมีผู้ขายจำนวนมากบนเว็บ E-commerce ต่างประเทศที่เราต้องแข่งขัน
  • ค่าธรรมเนียม: เว็บ E-commerce ต่างประเทศส่วนใหญ่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการขายสินค้าซึ่งมีราคาแพงกว่าแพลตฟอร์มของบ้านเรา
  • ภาษา: เจ้าของร้านค้าต้องสามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ อย่างน้อยก็ภาษาอังกฤษ เพื่อตอบคำถามลูกค้าและดูแลธุรกิจ
  • กฎหมาย: เจ้าของร้านค้าจำเป็นต้องศึกษาและปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่ต้องการขายสินค้า

ช่องทาง E-commerce พร้อมข้อดี-ข้อเสีย

การขายผ่านโซเชียลมีเดีย (Social Media Selling)

นอกเหนือจากช่องทาง E-Commerce ทั้งแบบเว็บไซต์ส่วนตัวและแบบสำเร็จรูปแล้ว อีกหนึ่งช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมอย่างมากไม่แพ้กันก็คือช่องทาง โซเชียลมีเดีย หลายครั้งที่เรามักจะเห็นร้านค้าเปิด Account ในหลายแพลตฟอร์ม ทั้งๆ ที่โซเชียลมีเดียแต่ละแพตฟอร์มไม่ได้มีจุดประสงค์สำหรับขายของโดยเฉพาะ สาเหตุเป็นเพราะอะไร? มาเจาะลึกกันทีละแพลตฟอร์มเลยดีกว่า

Facebook

  • Facebook คือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยมสำหรับทำคอนเทนต์ กระแสไวรัลต่างๆ ละก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการขายของออนไลน์เช่นกัน
  • Facebook Fanpage : เพจออฟฟิเชียลของร้านค้าส่วนใหญ่นิยมเปิดใช้งานด้วยกับเหตุผลทางด้านการตลาดและการโฆษณา หลายครั้งเราจะเห็นว่าร้านค้าทำคอนเทนนต์ต่างๆ จนเกิดกระแสไวรัลในการโปรโมทสินค้าบน Facebook Page
  • Facebook Marketplace : ฟีเจอร์หนึ่งของ Facebook ที่จัดทำขึ้นมาเพื่อเป็นตลาดออนไลน์โดยเฉพาะ สามารถค้นหาสินค้าผ่านหมวดหมู่ต่างๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า อุปกรณ์บ้านและสวน ยานพาหนะ และอื่นๆ
  • Facebook Group : ใน Facebook เราคงเคยเห็นกลุ่มต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรวมกลุ่มคนที่มีความสนใจในบางสิ่งที่เหมือนๆ กัน หรือเป็นกลุ่มขายสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่คนนิยมซื้อขายกัน
  • ข้อดีของการขายบน Facebook Marketplace
  • ใช้งานง่าย: คนขายสามารถสร้างโพสต์ขายสินค้าได้ง่ายๆ เพราะ Facebook ออกแบบมาเพื่อโพสต์คอนเทนต์บางอย่าง เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ โพล เป็นต้น
  • ค่าใช้จ่ายฟรี: การลงสินค้าบนแพลตฟอร์ม Facebook นั้นฟรี ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ แต่หากต้องการยิงโฆษณาแบบนี้มีค่าใช้จ่ายแน่นอน
  • เข้าถึงลูกค้าได้กว้าง: หากถามทุกคนว่ามีแอคเค้าท์ Facebook ไหม เชื่อว่าเกือบทุกคน มีแน่นอน! และนั่นก็คือสินค้าของคุณมีโอกาสเข้าถึงลูกค้าจำนวนมาก
  • ติดต่อลูกค้าโดยตรง: ร้านค้าสามารถติดต่อลูกค้าโดยตรงผ่าน Facebook Messenger
  • ข้อเสียของการขายบน Facebook Marketplace
  • การแข่งขันสูง : เนื่องจากมีธุรกิจร้านค้าจำนวนมากบน Facebook ดังนั้นจึงเกิดการแข่งขันสูงเพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้า
  • ไม่มีระบบการชำระเงิน : การติดต่อซื้อขายบนช่องทาง Facebook ทางแพลตฟอร์มไม่ได้มีช่องทางการชำระเงินรองรับไว้ให้ ร้านค้าต้องรับผิดชอบระบบการชำระเงินเอง
  • ความเสี่ยงจากมิจฉาชีพ: ด้วยการที่ Facebook เป็นโซเชียลที่มีผู้ใช้อย่างมหาศาล ซึ่งนั่นก็เต็มไปด้วยแอคเค้าท์ปลอม สถิติรายงานว่ามีมากกว่า 1.3 พันล้านบัญชีที่ปลอม ธุรกิจจึงต้องต้องระวังมิจฉาชีพที่จะมาหลอกลวง

Instagram

  • Instagram คือแพลตฟอร์มในการนำเสนอคอนเทนต์ประเภท รูปภาพ วิดีโอ เป็นหลัก ซึ่งมีร้านค้ามากมายเลือกใช้ช่องทางนี้ในการขายของออนไลน์
  • ตัวแพลตฟอร์ม Instagram มีฟีเจอร์หลายแบบที่จะทำให้โพสต์ของร้านค้าเกิดการเข้าถึงและเกิดการรับรู้ เช่น
  • การใช้ # แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อเพิ่มโอกาสมองเห็น
  • ใช้ Instagram Stories เพื่อโปรโมทสินค้า แจ้งข่าวสาร
  • ใช้ Instagram Ads เพื่อโปรโมทสินค้าเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมาย
  • ข้อดีของการขายบน Instagram
  • ใช้งานง่าย : การใช้แพลตฟอร์มของ Instagram นั้นสามารถทำได้ง่าย เพียงเปิดบัญชีแบบธุรกิจและทำตามขั้นตอนการแนะนำอัตโนมัติ ก็เปิดร้านค้าบน IG ได้แล้ว
  • ฟรีค่าใช้จ่าย : การสร้างบัญชีธุรกิจและลงรูปสินค้าบน Instagram นั้นฟรี ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
  • เข้าถึงลูกค้าได้กว้าง: Instagram มีผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อย สินค้าของธุรกิจมีโอกาสเข้าถึงลูกค้าจำนวนมาก
  • กระตุ้นให้ลูกค้าเข้าถึงเว็บไซต์ : ธุรกิจสามารถกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือติดตามบัญชีของคุณหรือไปที่เว็บไซต์ ผ่านปุ่ม CTA (Call to Action) ซึ่งทำให้น่าเชื่อถือขึ้น
  • สินค้าบางชนิดได้เปรียบ : สินค้าที่เน้นการถ่ายรูปหรือต้องการนำเสนอที่เน้นความสวยงาม จะได้เปรียบตรงที่ IG เป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสมและมีอัลกอริทึ่มช่วยเหลือโพสต์ที่รูปภาพดีสวยงาม
  • ข้อเสียของการขายบน Instagram
  • การแข่งขันสูง: มีร้านค้าและธุรกิจจำนวนมากบน Instagram เราจำเป็นต้องแข่งขันเพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้า
  • ต้องสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ: IG คือแพลตฟอร์มในการนำเสนอ ณูปภาพและวิดีโอเป็นหลัก ดังนั้นธุรกิจจำเป็นต้องสร้างรูปภาพและวิดีโอที่สวยงามน่าสนใจ ซึ่งอาจจะต้องใช้เงินลงทุน
  • ไม่มีระบบการชำระเงิน: ธุรกิจร้านค้าต้องรับผิดชอบระบบการชำระเงินเอง เช่น โอนเงินผ่านธนาคาร หรือเก็บเงินปลายทาง
  • ไม่มีระบบการจัดส่งสินค้า: ต้องจัดส่งสินค้าเอง

Tiktok Shop

  • TikTok เป็นหนึ่งอีกแพลตฟอร์มที่ประเทศไทยนิยมใช้กันอย่างมาก จากสถิติพบว่าประเทศไทยมีบัญชีผู้ใช้ TikTok สูงถึง 44 ล้านบัญชี เป็นอันดับ 9 ของโลก (อ้างอิงจาก Seasia Stats)
  • TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นการนำเสนอคอนเทนต์แบบคลิปวิดีโอสั้นๆ เป็นหลัก ซึ่งร้านค้าออนไลน์จำนวนมากเลือกใช้ช่องทางนี้ในการนำเสนอสินค้า
  • ด้วยความกระชับและรวดเร็ว เข้าใจง่าย ทำให้ฟีเจอร์ TikTok Shop ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อรองรับการซื้อขายออนไลน์บนแพลตฟอร์ม ซึ่งมาพร้อมกับ
  • การ Live สดขายสินค้าจากบัญชีร้านค้า
  • การนำเสนอ/สร้าง คอนเทนต์ต่างๆ ทั้งแบบวิโอคลิปสั้นๆ หรือรูปภาพ
  • ตัวอย่างการขายของออนไลน์ผ่านช่องทาง TikTok ที่กำลังนิยมในตอนนี้คือ #ชาลีกามิน คู่จิ้นที่ทำเอาผู้ติดตามแห่กันเข้ามาซื้อสินค้าที่ทั้งคู่ออกมาโปรโมท โดยใช้การตลาดคือความน่ารัก ความจิ้น ของทั้งคู่
  • ข้อดีของการขายบน TikTok Shop
  • เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย Gen Z: TikTok เป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมในหมู่ Gen Z (กลุ่มคนที่เกิดปี 1997-2009) ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • ดึงดูดความสนใจลูกค้า: ด้วยคอนเทนต์ที่เป็นวิดีโอสั้นจะดึงดูดความสนใจจากลูกค้าได้มากกว่าข้อความหรือรูปภาพ
  • สร้างการมีส่วนร่วม: TikTok Shop ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า ผ่านไลค์ แชร์ คอมเมนต์ และการตอบคำถามใน Live
  • วัดผลได้: สามารถวัดผลประสิทธิภาพของวิดีโอและแคมเปญโฆษณาบน TikTok Shop เพื่อปรับกลยุทธ์การขายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ข้อเสียของการขายบน TikTok Shop
  • ด้วยแพลตฟอร์มที่เน้นนำเสนอคอนเทนต์ รูปภาพ วิดีโอ เป็นหลัก ข้อจำกัดต่างๆ ก็จะคล้ายกันทั้ง Facebook / IG / TikTok
  • การแข่งขันสูง: มีร้านค้าจำนวนมากบน TikTok Shop การแข่งขันจึงสูง มีการแย่งลูกค้า
  • อาจจะต้องลงทุนสร้างวิดีโอที่ดึงดูดความสนใจเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าอยากซื้อสินค้า
  • ช่วงหลังเจอสินค้าจากต่างประเทศที่ถูกกว่าเข้ามาแย่งตลาด

LINE MyShop

  • อีกหนึ่งช่องทางที่กำลังเริ่มมีกระแสมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ LINE MyShop เครื่องมือจัดการร้านค้าออนไลน์บนแอพพลิเคชั่นสื่อสารอย่าง LINE ที่คนไทยหลายคนคุ้นเคยกันดี
  • โดยคุณสมบัติของ LINE MyShop คือเชื่อมต่อกับ LINE Official Account ของร้านค้าและบริหารจัดการการขายได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องสร้างเว็บไซต์
  • LINE MyShop เหมาะกับใคร?
  • เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง: ที่ต้องการช่องทางขายสินค้าออนไลน์โดยไม่ต้องลงทุนสร้างเว็บไซต์
  • พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์: ที่ต้องการเพิ่มช่องทางการขายและเข้าถึงลูกค้าใหม่
  • ผู้ประกอบการหน้าใหม่: ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์โดยไม่ต้องมีความรู้ด้านไอที
  • จุดเด่นของ LINE MyShop
  • ฟรี: ไม่มีค่าธรรมเนียมในการใช้งาน
  • เข้าถึงลูกค้าได้กว้าง: เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ LINE ที่มีจำนวนมากกว่า 54 ล้านบัญชีในประเทศไทย (อ้างอิงจาก thestorythailand)
  • เชื่อมต่อกับ LINE Official Account: สื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรงผ่าน LINE Chat
  • ระบบการจัดการร้านค้า: ตัวแอพพลิเคชั่นมีฟีเจอร์ จัดการสินค้า คลังสินค้า โปรโมชันและออเดอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ระบบการชำระเงิน: รองรับการชำระเงินหลากหลายช่องทาง เช่น บัตรเครดิต, Rabbit LINE Pay, โอนเงิน และเก็บเงินปลายทาง
  • สร้างเว็บไซต์ร้านค้า: สร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์สำเร็จรูป โดยไม่ต้องเรียนรู้วิธีเขียนโค้ด
  • ข้อเสียของ LINE MyShop
  • Line Official Account ที่ใช้แพคเก็จฟรี จะมีข้อจำกัดด้านผู้ติดตาม ร้านค้าจำเป็นต้องซื้อแพ็คเก็จแบบพรีเมียม
  • ผู้ใช้ไม่สามารถเปิดร้านขายของบน LINE MyShop ได้โดยตรง แต่ต้องมีบัญชี LINE Official Account ก่อน
  • การนำเสนอโปรโมชั่น หรือแคมเปญยังไม่เป็นที่นิยมเท่าแพลตฟอร์มอื่นๆ

ตัวอย่างและข้อดี-ข้อเสีย ช่องทาง Social Media

วิธีการเลือกช่องทางการขายที่เหมาะสม

ในเมื่อมีช่องทางการขายของออนไลน์มากมายแบบนี้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าช่องทางไหนเหมาะสมกับเราที่สุด? ซึ่งคำตอบหนึ่งที่ถูกต้องก็คือ ก็ใช้ทุกช่องทางไปเลย! คำตอบนี้ก็ถือว่าถูกแต่ยังเป็นคำตอบที่ต้องกลั่นกรองออกมาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด ซึ่งก็มีปัจจัยในการเลือกดังนี้

การวิเคราะห์ตลาดเป้าหมาย

  • การวิเคราะห์ตลาดกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจคือ เราต้องมีข้อมูลลูกค้าอยู่ในมือก่อนว่าธุรกิจหรือสินค้าของเรานั้นกำลังเจาะกลุ่มตลาดไหน อายุ เพศ รายได้ อาชีพ ความสนใจ และพฤติกรรมการซื้อ เป็นอย่างไร
  • การจะได้มาซึ่งข้อมูลของลูกค้านั้นบนช่องทางออนไลน์ทุกแพลตฟอร์มจะมีข้อมูลหลังบ้านที่เก็บสถิติเอาไว้ว่าที่ผ่านมาลูกค้าของเรา คือคนกลุ่มไหน อายุเท่าไหร่ เพศไหน การใช้จ่ายเป็นแบบไหน
  • ศึกษาคู่แข่งที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกันว่าพวกเขาใช้ช่องทางการขายออนไลน์ใดบ้าง และมีจุดแข็ง-จุดอ่อนอย่างไร
  • ยกตัวอย่างเช่น
  • ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องยนต์และส่วนประกอบ อาจจะมีฐานลูกค้าเป็นผู้ชายส่วนใหญ่ ทางร้านค้าอาจจะเน้นการขายบนช่องทางเว็บไซต์ส่วนตัวหรือ Facebook Page มากกว่า Instagram หรือ แพลตฟอร์มอื่นๆ

การประเมินต้นทุนและกำไร

  • คำนวณต้นทุนการใช้แพลตฟอร์มการขายออนไลน์แต่ละช่องทาง เช่น ค่าบริการรายเดือน ค่าธรรมเนียมการขาย และค่าโฆษณา
  • จุดประสงค์ก็เพื่อเก็บข้อมูลว่าช่องทางไหนใช้จ่ายไปเท่าไหร่ได้ผลตอบรับกลับมาเป็นอย่างไร เพื่อเลือกช่องทางที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด
  • แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าหากช่องทางไหนมีการซื้อขายน้อยกว่าจะปิดช่องทางนั้นไป

การเลือกแพลตฟอร์มที่สอดคล้องกับสินค้า

  • ธุรกิจจำเป็นต้องเลือกแพลตฟอร์มที่สอดคล้องและเอื้อประโยชน์เข้ากับสินค้าที่ดีที่สุด ยกตัวอย่าง เช่น
  • ร้านค้าขายสินค้าสำหรับผู้สูงอายุอาจจะต้องเลือกแพลตฟอร์มที่กลุ่มเป้าหมายใช้กันเยอะ เช่น Facebook ที่มีกลุ่มผู้สูงอายุยังคงใช้งานกันอยู่จำนวนไม่น้อย หลีกเลี่ยงแพลตฟอร์มอย่าง IG , TikTok Shop ที่กลุ่มลูกค้าประเภทนี้มีน้อย
  • อีกทั้งควรจะเลือกแพลตฟอร์มที่มีฟีเจอร์การตลาดที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น การใช้โฆษณา การทำโปรโมชั่น

ปัจจัยการเลือกช่องทางการขาย

สรุป

ช่องทางการขายของออนไลน์ในปัจจุบันปี 2024 นี้มีมากมายหลายช่องทาง สาเหตุเป็นเพราะการพัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เน้นการแข่งกันมากขึ้นจนเกิดแพลตฟอร์มใหม่ๆ ขึ้นมาในแต่ละวัน เพื่อเป็นช่องทางในการขายของออนไลน์มากยิ่งขึ้น เกิดตลาดใหม่ๆ เทรนด์การบริโภคใหม่ๆ ดังนั้นธุรกิจทั้งหลายควรจะต้องปรับตัวให้ทันช่องทางเหล่านั้นและควรทำความเข้าใจในแต่ละช่องทางเพื่อเพิ่มโอกาสในการขายให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงกลุ่มลูกค้าและความคุ้มค่าในการใช้งาน เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ