รวมช่องทางการขายคอร์ส ทางไหนปังที่สุด?

รายได้เสริมจากการสอนคอร์สออนไลน์

เคยฝันอยากมีรายได้เสริมจากการสอนคอร์สออนไลน์ไหม? หรือหลายคนมีสกิลที่พร้อมจะสอนแล้ว แต่ไม่รู้จะขายคอร์สช่องทางไหนดี? วันนี้เรามีคำตอบ! เพราะทางทีมงานรวบรวมช่องทางการขายคอร์สแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่ “ปัง” ที่สุด มาให้เลือกแบบจุกๆ อ่านจบปุ๊บ เริ่มขายปั๊บ รวยชัวร์! แต่ก่อนอื่นนั้นเรามาทำเช็คลิสต์ให้กับตัวเองกันก่อนว่า ตัวเรามีอะไรที่พร้อมจะขายบ้าง?

  • ความรู้: คุณมีความรู้หรือทักษะอะไรที่อยากแบ่งปัน?
  • กลุ่มเป้าหมาย: ใครคือกลุ่มคนที่ต้องการความรู้ของคุณ?
  • เนื้อหาคอร์ส: คุณจะสอนอะไรบ้าง?

ถ้าหากคุณมีคำตอบสำหรับทุกข้อแล้ว นั่นคือสัญญาณว่าคุณพร้อมแล้วที่จะขายคอร์สเรียน อย่ารอช้าไปดูกันเลยว่าช่องทางไหนมันเหมาะกับตัวคุณและเนื้อหาที่เราจะสอน พร้อมข้อดีและข้อเสียของแต่ละช่องทาง

การขายคอร์สออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเฉพาะทาง

ช่องทางแรกที่จะมาแนะนำก็คือการขายคอร์สเรียนผ่านช่องทางแพลตฟอร์มสำเร็จรูป ซึ่งมีมากมายให้เลือกใช้ เพราะปัจจุบันประเทศไทยของเราเริ่มนิยมในการเรียนออนไลน์ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากความสะดวกต่างๆ ดังนั้นแพลตฟอร์มสำเร็จรูปแบบนี้แหละคือช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย

แพลตฟอร์มชื่อดังสำหรับขายคอร์สออนไลน์

SkillLane

  • แพลตฟอร์มขายคอร์สออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในไทย เพราะมีคอร์สหลากหลายประเภท ครอบคลุมทุกหมวดหมู่
  • ประเภทคอร์สที่น่าสนใจ : ธุรกิจ การตลาด การเงิน การลงทุน เทคโนโลยี พัฒนาตัวเอง ซอฟต์แวร์ ภาษา
  • ข้อดี : SkillLane มีความน่าเชื่อถืออย่างมากในประเทศไทย จากข้อมูลอ้างอิงที่มีผู้ใช้บริการมากกว่า 200,000 คน พร้อมทั้งวิทยากรที่มีชื่อเสียง เช่น อาจารย์อดัม ครูเงาะ เป็นต้น
  • ข้อเสีย : ก็เพราะว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่โตจึงมีหลายคอร์สเรียนที่เป็นคู่แข่งโดยตรงและทางอ้อมมากมาย และอีกทั้งค่าธรรมเนียมในการแบ่งให้กับแพลตฟอร์มก็ค่อนข้างสูงเอาเรื่อง

Thai MOOC

  • Thai MOOC เป็นแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ที่สนับสนุนโดยกระทรวงศึกษาธิการ มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในประเทศไทย
  • มีวิชาให้เลือกเรียนมากมายและสอดคล้องกับวิชาในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย
  • ดังนั้นหากเราต้องการขายคอร์สสำหรับ Thai MOOC ก็ต้องยอมรับในเงื่อนไขทางกระทรวงศึกษาธิการตั้งไว้
  • ข้อดี : เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ผู้เรียนจึงมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของเนื้อหาการสอนของแพลตฟอร์มนี้โดยปริยาย
  • ข้อเสีย : แม้ว่าจะมีความน่าเชื่อถือ แต่การโปรโมทคอร์สอาจจะไม่ครอบคลุมเท่ากับแพลตฟอร์มเชิงพาณิชย์ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้จักและเลือกใช้แพลตฟอร์มอื่น

Udemy

  • Udemy เป็นแพลตฟอร์มสำเร็จรูปที่รวมผู้เรียนและผู้สอนครบจบในที่เดียว มีคอร์สเรียนให้เลือกกว่า 220,000 รายการ ผู้เรียนกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
  • ส่วนใหญ่คอร์สที่สอนบน Udemy จะเป็นหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาเว็บไซต์
  • ข้อดี : คอร์สของคุณมีโอกาสเข้าถึงผู้เรียนได้มากมายทั่วโลก อีกทั้งอินเทอร์เฟซของเว็บดูดีทันสมัยและใช้งานง่ายมาก และ Udemy มีทีมการตลาดและจัดโปรโมชั่นช่วยโปรโมทคอร์สของเรา
  • ข้อเสีย : ค่าคอมมิชชั่นจากการขายคอร์สอาจจะแพงไปซักนิดและการแข่งขันอาจจะสูง ผู้สอนต้องหมั่นพัฒนาคอร์สเรียนและอัพเดทให้สม่ำเสมอ

Fastwork

  • หลายคนรู้จัก Fastwork ว่าเป็นแพลตฟอร์มหางาน+จ้างงานฟรีแลนซ์ทุกประเภท แต่รู้ไหมว่า Fastwork ยังมีคอร์เรียนออนไลน์ให้กับผู้สนใจอีกด้วย
  • คอร์สเรียนส่วนใหญ่ของ Fastwork จะเป็นความรู้เกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ การทำโฆษณา จิตวิทยา การพัฒนาตนเอง
  • ข้อดี : Fastwork มีระบบรับแบ่งชำระเงินทำให้ผู้เรียนสามารถแบ่งจ่ายค่าคอร์สได้ และ Fastwork ก็จะช่วยโปรโมทคอร์สเรียนผ่านช่องทางต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม
  • ข้อเสีย : ด้วยความที่แพลตฟอร์มดังในเรื่องของการจ้างงานฟรีแลนซ์มากกว่า หลายคนจึงยังไม่รู้ว่าที่นี่มีคอร์สเรียนขายด้วย

ตลาดปัญญา

  • ตลาดปัญญา แค่ชื่อก็น่าจะรู้ได้เลยว่าเป็นแพลตฟอร์มของไทยที่รองรับคอร์สเรียนหลากหลายประเภท เหมาะสำรับผู้เรียนและผู้สอนชาวไทยมากๆ
  • เนื้อหาของคอร์สเรียนที่ได้รับความนิยมบนตลาดปัญญาส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ การทำธุรกิจ ภาษาต่างประเทศ การลงทุน
  • ข้อดี : มีฟีเจอร์รองรับการใช้งานที่ง่าย ช่วยให้เราสร้างและจัดการคอร์สเรียนได้อย่างสะดวก หรือใครที่มีเนื้อหาคอร์สเตรียมไว้อยู่แล้วก็สามารถฝากขายไว้กับตลาดปัญญาและรอรับส่วนแบ่งได้เลย
  • ข้อเสีย : เนื่องจากตลาดปัญญามีวิทยากรผู้ให้ความรู้มากมายดังนั้นคอร์สของเราจึงจ้องเจอกับการแข่งขันที่สูง

ตัวอย่างเว็บไซต์-แพลตฟอร์มยอดนิยมในการขายคอร์สออนไลน์

มาดูข้อดี-ข้อเสียของการใช้แพลตฟอร์มเฉพาะทาง

จากที่อ่านมาอาจจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากๆ และนี่ก็เป็นข้อดี-ข้อเสียแบบภาพรวมของการขายคอร์สเรียนบนแพลตฟอร์มเฉพาะทาง

ข้อดี ข้อเสีย
แพลตฟอร์มเฉพาะทางมักมีผู้เรียนจำนวนมากที่ใช้งานอยู่แล้ว จึงมีโอกาสเข้าถึงผู้เรียนมากขึ้นโดยอัตโนมัติ เราอาจจะต้องแบ่งรายได้จากการขายคอร์สกับแพลตฟอร์ม ทำให้รายได้สุทธิน้อยลง
แพลตฟอร์มมักมีการโปรโมทคอร์สเรียนผ่านช่องทางต่างๆ ให้ มีการแข่งขันที่สูงเพราะว่ามีผู้สอนหลายคนที่เสนอคอร์สเรียนในหมวดหมู่เดียวกัน
แพลตฟอร์มเฉพาะทางมักมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง บางแพลตฟอร์มมีค่าธรรมเนียมในการใช้งานหรือการสร้างคอร์ส
ส่วนใหญ่จะมีเครื่องมือและฟีเจอร์ที่ช่วยในการสร้างและจัดการคอร์สเรียนได้ง่าย บางแพลตฟอร์มมีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่เข้มงวดในการสร้างคอร์ส
มีระบบการวิเคราะห์และรายงานผลการเรียนรู้ของผู้เรียน บางแพลตฟอร์มอาจมีข้อจำกัดในการปรับแต่งคอร์สตามความต้องการ
มีระบบชำระเงินที่ชัดเจน ปลอดภัย

ตารางเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของการขายคอร์สบนแพลตฟอร์มเฉพาะ

การขายคอร์สออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ส่วนตัว

หากคุณไม่ต้องการส่วนแบ่งการตลาด แบบว่าอยากสร้างเนื้อหาจัดเต็ม หลักสูตรแบบครบถ้วนในพื้นที่ส่วนตัวโดยเฉพาะ ช่องทางการขายที่ดูเหมือนจะเหมาะสมกับคุณที่สุดก็คงจะเป็นขายคอร์สบนเว็บไซต์ส่วนตัว

การสร้างเว็บไซต์เพื่อขายคอร์ส

  • รู้ไหมว่า…การสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวเพื่อขายคอร์สเรียนไม่เพียงแต่ช่วยให้เราสามารถควบคุมทุกองค์ประกอบของการสอนได้อย่างอิสระ แต่ยังเป็นโอกาสในการสร้างแบรนด์ สร้างชื่อเสียงให้กับตัวผู้สอนเองด้วย
  • สร้างเว็บไซต์ส่วนตัวเพื่อขายคอร์สเรียน เริ่มต้นง่ายๆ ดังนี้
  • เลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมเป็นก้าวแรกที่สำคัญ ใช้บริการสร้างเว็บไซต์ที่มีระบบจัดการการเรียนรู้ (LMS) ในตัว เช่น WordPress พร้อมปลั๊กอินอย่าง LearnDash หรือ LifterLMS
  • หรือเลือกใช้แพลตฟอร์มอย่าง Thinkific และ Teachable ที่มีเครื่องมือครบครันและไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม ก็ลงคอร์สจัดเต็มได้เลย
  • ออกแบบเว็บไซต์ให้น่าเรียนและใช้งานง่าย เลือกเทมเพลตที่ดูทันสมัยสอดคล้องกับแนวทางของเนื้อหา นำเสนอเนื้อหาอย่างมีระบบระเบียบ อย่าลืมให้ความสำคัญกับการออกแบบที่ตอบสนองต่อการใช้งานบนมือถือ (responsive design) ด้วย เพราะปัจจุบันหลายคนนิยมเรียนบนสมาร์ทโฟนเป็นหลัก
  • จัดทำเนื้อหาที่มีคุณภาพและครอบคลุม ใช้สื่อหลายรูปแบบ เช่น วิดีโอ บทความ ภาพประกอบ ให้คอร์สเรียนของเราไม่น่าเบื่อ การจัดเนื้อหาเป็นตอนสั้นๆ ก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ
  • สร้างความประทับใจให้ผู้เรียน สร้างชุมชนออนไลน์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ให้รู้สึกว่าคอร์สที่เรียนเกิดการเชื่อมต่อระหว่างกันและกัน

การใช้ระบบ LMS (Learning Management System)

  • ระบบ LMS คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต มีเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้สอน ผู้เรียน และผู้ดูแลระบบ เช่น
  • การจัดการรายวิชา
  • การจัดการข้อมูลบทเรียน
  • การสร้างเนื้อหารายวิชา
  • การวัดผลการเรียนรู้
  • การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
  • องค์ประกอบหลักของ LMS มีอะไรบ้าง?
  • ระบบจัดการเนื้อหาหลักสูตร (Course Management System) : ช่วยสร้างเนื้อหาสำคัญ จัดทำแหล่งค้นคว้าข้อมูลและจัดกิจกรรมเสริมในคอร์สเรียน
  • ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้เรียน (User Management System) : จัดการข้อมูลของผู้เรียน สร้างกลุ่มผู้เรียนโดยอิงตามข้อมูลหรือแบบสุ่ม ตรวจสอบสมาชิก
  • ระบบตรวจสอบกิจกรรมและติดตามประเมินผล (Test & Tracking Management System) : ช่วยสร้างกิจกรรมแบบทดสอบ การบ้าน และระบบประเมินผลการเรียน
  • ระบบจัดการการสื่อสาร (Communication Management System) : ระบบที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการสื่อสาร เช่น Web-board, E-mail, Chatroom

ข้อดี-ข้อเสีย ของการใช้เว็บไซต์ส่วนตัวในการขายคอร์ส

ตัวเลือกการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวในการขายคอร์สเรียนเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับผู้สอนที่ชอบความอิสระ ชอบการควบคุมบริหารในแบบฉบับของตัวเอง แต่ก็มีข้อดี-ข้อเสียที่ทุกคนควรจะต้องรู้ดังนี้

ข้อดี ข้อเสีย
มีอิสระในการออกแบบและจัดการเนื้อหา การตั้งราคา และการตลาดอย่างเต็มที่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างและดูแลรักษาเว็บไซต์ เช่น ค่าโดเมนและโฮสติ้ง
สร้างชื่อเสียงและแบรนด์ของตัวเองได้อย่างอิสระ อาจจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านเทคนิคในการจัดการเว็บไซต์
ไม่ต้องแบ่งรายได้จากการขายคอร์สกับแพลตฟอร์มอื่น ต้องทำการตลาดและการโปรโมทคอร์สเอง
สามารถปรับแต่งประสบการณ์การเรียนรู้ตามความต้องการของผู้เรียน ต้องรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลผู้เรียนและเว็บไซต์
สามารถเก็บข้อมูลผู้เรียนและวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงคอร์ส อีกทั้งนำข้อมูลผู้เรียนมาทำการตลาดได้

ตารางข้อดี-ข้อเสียของการขายคอร์สผ่านเว็บไซต์ส่วนตัว

การขายคอร์สออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย

เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยเห็นคอร์สเรียนต่างๆ นาๆ ผุดขึ้นมาเต็มหน้าฟีดบนโซเชียลมีเดียของตัวเอง นั่นก็เพราะช่องทางโซเชียลมีเดียนั้นมีพลังมหาศาลในการเข้าถึง มีความสามารถในการสร้างกระแสไวรัล ทำให้คอร์สเรียนของเราสามารถโด่งดังได้ในชั่วพริบตา

การใช้ Facebook สำหรับขายคอร์ส

  • จุดเด่นของ Facebook : แพลตฟอร์มสังคมยอดนิยมของโลกอย่าง Facebook จะทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางและสามารถโต้ตอบกับลูกค้าได้ง่าย อีกทั้งยังดึงดูดลูกค้าด้วยโฆษณาสุดครีเอทีฟ
  • การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าบน Facebook เช่น
  • สร้างเพจ Facebook สำหรับคอร์สเรียนของเรา โพสต์เนื้อหาที่สอนผสมกับความคิดสร้างสรรค์ได้และปัจจุบันสามารถตั้งค่าเพจให้เป็นร้านค้ารองรับการชำระเงินได้
  • จัดไลฟ์สดเพื่อสอนตัวอย่างเนื้อหาได้ กระตุ้นให้มีผู้ชมเข้าร่วมได้มากมาย
  • เข้ากลุ่ม Facebook ที่เป็นกลุ่มผู้เรียนที่สนใจเนื้อหาคอร์สของเรา และโพสต์หรือตอบโต้กับสมาชิกในกลุ่มได้
  • ใช้ Facebook Ads ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ โดยเรามีอิสระในการตั้งค่าโฆษณาให้เลทอก พื้นที่ เพศ อายุ ได้เต็มที่
  • ข้อควรระวัง
  • เนื่องจาก Facebook เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลที่อิสระ กว้างขวาง อาจจะมีพวกไม่หวังดีเข้ามาเพื่อปั่นกระแสได้
  • ระบบ Facebook Ads ต้องมีความชำนาญและความรู้ในระดับหนึ่ง จึงจะทำให้โฆษณามีประสิทธิภาพได้

การใช้ Instagram สำหรับขายคอร์ส

  • Instagram เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นภาพและสตอรี่ที่เป็นเรื่องเล่า ดังนั้นเราสามารถสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่ชัดเจนของคอร์สเรียนได้เต็มที่
  • วิธีการเข้าถึงลูกค้าบน IG
  • โพสต์รูปภาพและวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับคอร์ส พร้อมกับใช้ #แฮชแท็ก ให้เกิดประสิทธิภาพ
  • สร้าง Instagram Stories , วีดีโอ , IGTV เพื่อลงเนื้อหาเป็นวิดีโอสั้นๆ กระตุ้นความน่าสนใจ
  • ช่องทาง IG มี Influencer มากมาย เราสามารถใช้จุดนี้ในการโปรโมทคอร์สเรียนของเรา
  • ข้อควรระวัง
  • แพลตฟอร์ม IG ส่วนใหญ่ผู้ใช้มักจะเป็นวัยรุ่น-วัยกลางคน คอร์สเรียนต้องมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ IG เป็นหลัก
  • แพลตฟอร์ม IG ขึ้นชื่อในเรื่องของการนำเสนอรูปภาพ วิดีโอ ไลฟ์สไตล์ต่างๆ ทำให้หลายคนไม่ได้คาดหวังจะมาหาคอร์สเรียนในแพลตฟอร์มนี้

การใช้ TikTok สำหรับขายคอร์ส

  • TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นความสนุกสนานจากคอนเทนต์ประเภทวิดีโอสั้นๆ ปัจจุบันผู้คนต่างประยุกต์ใช้ TikTok ในการสร้างกระแสไวรัลให้กับธุรกิจและบริการของตนเอง
  • การขายคอร์สบนช่องทาง TikTok เป็นอีกทางที่ได้รับความนิยมเช่นกัน
  • การสร้างคลิปวิดีโอสั้นๆ พรีเซนต์คอร์สเรียน พร้อมกับเล่าเนื้อหาที่น่าสนใจและประโยชน์ของการเรียนคอร์สนั้น
  • ฟีเจอร์การ Live สด สร้างกิจกรรมในการมีส่วนร่วมของเหล่าผู้ชมมากมายซึ่งหนึ่งในนั้นอาจจะเป็นคนที่สนใจคอร์สของเรา
  • ข้อควรระวัง
  • แพลตฟอร์มนี้เปรียบเสมือนห้องอิสระที่มีผู้คนมากมายทำคอนเทนต์ ชาเลนจ์หรือสร้างกระแสไวรัลรายวัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราต้องตามกระแสให้ทันและต่อสู้กับคอนเทนต์อื่นๆ ที่น่าดึงดูดไม่แพ้กัน

การใช้ YouTube สำหรับขายคอร์ส

  • จุดเด่นของ YouTube คือ พรีเซนต์เนื้อหาด้วยวิดีโอความยาวเต็มรูปแบบสร้างความน่าเชื่อถือ คอร์สเรียนจะได้เปรียบตรงที่สามารถอัดเนื้อที่น่าสนใจได้ยาวๆ
  • ส่วนใหญ่คอร์สเรียนจะนำเสนอโดยการสร้างโฆษณาเจ๋งๆ ไอเดียใหม่ๆ ให้ผู้คนเกิดความสงสัย สนใจในโฆษณา ก่อนจะนำเสนอคอร์สของตัวเอง
  • ตัวอย่างโฆษณาคอร์สเรียนภาษาอังกฤษ – ไม่เข้าใจภาษาอังกฤษต้อง thaiengink.com (youtube.com)
  • ฟีเจอร์ยอดนิยมในการโปรโมทบน YouTube
  • สร้างคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอทั้งสั้นและยาว นำเสนอเนื้อหาของคอร์สเรียนให้น่าสนใจ
  • ฟีเจอร์ไลฟ์สดที่สามารถพูดคุย คอมเม้นต์ อธิบายเกี่ยวกับคอร์สของเรา โดยสามารถสอนแบบเบื้องต้นก่อนได้เพื่อเพิ่มโอกาศในการซื้อคอร์สเรียนต่อ
  • ข้อควรระวัง
  • ในการสร้างคอนเทนต์เพื่อดึงดูดผู้ชมเข้ามานั้นอาจจะต้องลงทุน+ไอเดียสร้างสรรค์ เพราะในแพลตฟอร์ม YouTube เต็มไปด้วยวิดีโอเจ๋งๆ ใหม่ๆ อยู่เสมอ
  • YouTube ไม่มีช่องทางติดต่อโดยตรง เราควรมีช่องทางการติดต่อให้ชัดเจนเสริมลงไปในคำอธิบายวิดีโอของเรา

จุดเด่นของแต่ละแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

ข้อดี-ข้อเสีย ของการใช้โซเชียลมีเดียในการขายคอร์ส

ก็ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้คนนิยมใช้ในการโฆษณาธุรกิจและบริการมากมาย รวมไปถึงคอร์สเรียนต่างๆ ด้วย เพราะแพลตฟอร์มเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นพื้นที่สังคมออนไลน์ การแบ่งปันเรื่องราว พบปะผู้คนใหม่ๆ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมถึงมีการขายคอร์สเรียนบนโซเชียลมีเดีย

ข้อดี ข้อเสีย
โซเชียลมีเดียมีผู้ใช้งานจำนวนมาก ช่วยให้คอร์สเรียนสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กว้างมาก มีธุรกิจมากมายที่ใช้โซเชียลมีเดีย จึงจำเป็นต้องหาวิธีที่จะแตกต่างจากคู่แข่งให้ได้
การสร้างบัญชีและใช้งานโซเชียลมีเดียนั้นฟรีและง่ายดายมาก การทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียนั้นต้องใช้เวลาและความพยายามค่อนข้างสูง
สามารถใช้เครื่องมือโฆษณาเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ การโฆษณาบนโซเชียลมีเดียบางแพลตฟอร์มอาจมีต้นทุนสูง
สามารถเริ่มต้นทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย อัลกอริทึมของโซเชียลมีเดียมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้นเราต้องปรับและอัพเดทกลยุทธ์การตลาดอยู่เสมอ
สามารถติดตามผลลัพธ์ของแคมเปญการตลาดบนโซเชียลมีเดียได้อย่างละเอียด ครบถ้วน โซเชียลมีเดียเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็นเชิงลบ ต้องเตรียมพร้อมที่จะรับมือให้ดี
โซเชียลมีเดียช่วยให้เราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเป้าหมาย กระแสของแพลตฟอร์มมีผลต่อธุรกิจคอร์สเรียนของเรา เช่น แพลตฟอรฒปิดตัว/กระแสลดลง คนไม่นิยม = ลูกค้าลดลง

ตัวอย่างข้อดี-ข้อเสียการขายคอร์สบนโซเชียลมีเดีย

ขายคอร์สช่องทางออฟไลน์

หากพูดถึงช่องทางในการคอร์สเรียนนั้น จากด้านบนเรากล่าวถึงเฉพาะแค่ช่องทางออนไลน์แต่อย่าลืมไปว่าช่องทางในการคอร์สนั้นมีแบบออฟไลน์ด้วย ซึ่งในที่นี้เราจะยังไม่เน้นมากเท่ากับออนไลน์ แต่จะเป็นไปเน้นในบทความแยกย่อยต่อไป ส่วนช่องทางออฟไลน์ในการขายคอร์ส เบื้องต้นมีอะไรบ้างและน่าสนใจแค่ไหน เราไปหาคำตอบพร้อมกัน

สถาบันการศึกษา

  • การขายคอร์สโดยร่วมมือกับทางสถาบันการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัย โรงเรียนหรือสถาบันต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เราจะได้โอกาสเข้าถึงลูกค้าอย่างตรงเป้า
  • เพราะเมื่อสถาบันมีการจ้างหรือซื้อคอร์สเรียนของเราไป แสดงถึงความน่าเชื่อถือในตัวของเราที่มีมากขึ้นสามารถเก็บเป็นเครดิตและโปรไฟล์ได้
  • ข้อดี
  • ผู้เรียนสามารถถามคำถามและได้รับคำตอบทันที ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ผู้สอนสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนได้
  • สร้างความน่าเชื่อถือให้คอร์สเรียนด้วยกับชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา
  • ข้อเสีย
  • ข้อจำกัดทางเวลาและสถานที่ ไม่สะดวกและยืดหยุ่นเหมือนเรียนออนไลน์
  • เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แค่บางส่วนหรือที่ทางสถาบันจัดเตรียมไว้เท่านั้น

การจัดสัมมนาและเวิร์กช็อป

  • การขายคอร์สเรียนด้วยการจัดสัมมนา เวิร์กช้อปนั้น จะทำให้คอร์สเรียนของเราดูมีความน่าเชื่อถือสูง ผู้เรียนสามารถรู้ว่าใครคือผู้สอน การได้พบปะเป็นช่องทางให้เกิดความเชื่อมั่นได้สูง
  • หากในสัมมนามีการจัดการสอนหรือให้ความรู้เบื้องต้น ผู้เรียนก็จะได้ประโยชน์อีกทั้งยังช่วยตัดสินใจได้รวดเร็วว่าจะใช้บริการในคอร์สเรียนของเราหรือไม่
  • ข้อดี
  • สัมมนาและเวิร์กช็อปเน้นการเรียนแบบฝึกปฏิบัติจริงเหมาะกับคอร์สเรียนที่ต้องฝึกปฏิบัติ
  • ผู้เรียนสามารถพบปะและสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมคลาสและผู้เชี่ยวชาญในสายงานเดียวกัน
  • ข้อเสีย
  • สัมมนาและเวิร์กช็อปมักมีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่คล้ายกับสถาบันการเรียน
  • การจัดสัมมนาและเวิร์กช็อปอาจมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งในด้านสถานที่ วิทยากร และอุปกรณ์

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของช่องทางการขายคอร์สแบบออฟไลน์

แม้ว่าการขายคอร์สเรียนแบบออฟไลน์จะไม่เป็นที่นิยมเหมือนช่องทางออนไลน์ต่างๆ ตามที่ได้กล่าวไป แต่ก็ยังเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพที่ดีและบางคอร์สเรียนก็เหมาะกับการขายแบบออฟไลน์ที่เน้นปฏิบัติจริงมากกว่า

ข้อดี ข้อเสีย
ผู้เรียนสามารถถามคำถามและได้รับคำตอบทันที ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ ผู้สอนและผู้เรียนต้องเดินทางมายังสถานที่เรียนตามเวลาที่กำหนด
ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง ทำให้เรียนรู้ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การเช่าสถานที่เรียนและจัดเตรียมอุปกรณ์การเรียนมีค่าใช้จ่ายสูง
การจัดกิจกรรมและการทำงานกลุ่มกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในเนื้อหาการสอนได้ คอร์สเรียนเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ค่อนข้างจำกัด ซึ่งมีความเสี่ยงที่ผู้เรียนอาจจะไม่สนใจคอร์สของเราเลย
ผู้เรียนสามารถพบปะและสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมคลาสและผู้เชี่ยวชาญ ไม่สามารถวัดประสิทธิภาพของการสอนได้อย่างเต็มที่และมีโอกาศน้อยในการได้รับคำติชม
คอร์สเรียนอาจได้รับความน่าเชื่อถือจากสถาบันการศึกษาที่ได้ไปจัดการสอน

ตัวอย่างข้อดี-ข้อเสียการขายคอร์สแบบออฟไลน์

สรุป

ใครที่กำลังมองหาและจะตัดสินใจเลือกช่องทางในการขายคอร์ส หากอ่านมาถึงตรงนี้ก็หวังว่าคงจะมีตัวเลือกในใจแล้วว่า คอร์สที่เรากำลังจะขายนั้นเหมาะสมกับช่องทางใดเป็นหลัก การเลือกใช้ช่องทางที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของคอร์สเราดังนั้นสิ่งสำคัญคือทุกช่องทางการขายมีโอกาสอยู่ในนั้นเสมอ การขายคอร์สเรียนไม่ว่าจะช่องทางไหนก็สามารถขายได้หากเราเชื่อมั่นและการันตีได้ว่าคอร์สเรียนของเรามีประสิทธิภาพจริงและพร้อมสร้างความสำเร็จในโลกการศึกษาได้อย่างยั่งยืน

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *