ในยุคดิจิทัล การตลาดแบบ Affiliate กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ผู้คนหันมาสร้างรายได้ออนไลน์ผ่านการแนะนำสินค้าจากร้านค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยมอย่าง Lazada และ Shopee สองแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปรียบเสมือนศึก El-Clasico ที่ทั้ง 2 ต่างก็มีระบบ Affiliate ที่ดึงดูดผู้คนเพื่อมาทำการตลาดกับพวกเขา แต่ฝั่งไหนล่ะที่ดูรวมๆ แล้วดีกว่าหรือเหมาะกับเรามากกว่า บทความนี้จะเป็นไกดแนะแนสทางให้กับคนที่กำลังตัดสินใจเลือกใช้ Affiliate จากทั้ง 2 ค่ายนี้อยู่
การเลือก Affiliate ระหว่าง Lazada และ Shopee
อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่าการตลาดแบบ Affiliate บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซคงไม่มีอะไรจะเข้มข้นไปกว่าการแข่งขันของ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่จาก Asean อย่าง Shopee และ Lazada ได้ แล้วข้อมูลที่เราควรจะเจาะลึกเพื่อใช้เป็นฐานในการวัดว่าเจ้าไหนดีกว่านั้นควรมีอะไรบ้าง? แล้วการทำ Affiliate นั้นมีความสำคัญอะไร? เดี๋ยวเราได้รู้กัน
ความสำคัญของการทำ Affiliate Marketing
ทุกคนรู้ดีว่า Affiliate Marketing เป็นเครื่องมือการตลาดที่กำลังมาแรงสุดๆ มาดูกันว่าทำไมการทำ Affiliate Marketing จึงมีความสำคัญในโลกการตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน
- สร้างรายได้เสริมอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพตรงนี้หมายถึงสามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมโดยไม่ต้องลงทุนมาก เพียงโปรโมทสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์ Affiliate ก็สามารถรับค่าคอมมิชชั่นจากการขายหรือกิจกรรมได้
- ผู้ขายจะจ่ายค่าคอมมิชชั่นเมื่อเกิดการขายเท่านั้น ลดความเสี่ยงในการลงทุน เห็นไหม? ว่าดีต่อธุรกิจและพันธมิตรทั้งคู่
- หากพันธมิตรที่สนใจรับลิงก์สินค้าไปโปรโมทเป็น Influencer ที่มีชื่อเสียงและผู้ติดตามเยอะก็เท่ากับว่าธุรกิจสามารถเพิ่มการรับรู้และการเข้าถึงของแบรนด์ผ่านเครือข่ายของพันธมิตร
- งานของพันธมิตรคือการโปรโมทสินค้า ผู้ขายจะจัดการส่วนที่เหลือ นั่นหมายความว่าไม่ต้องรับผิดชอบในการจัดการสินค้าคงคลังหรือการจัดส่งสินค้า
- Affiliate Marketing เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาดใหม่และกลุ่มลูกค้าใหม่ หากการโปรโมทสินค้ามีความน่าสนใจทั้งสินค้าและวิธีโปรโมท สามารถสร้างกระแสไวรัลได้ง่ายๆ
ภาพรวมของ Lazada และ Shopee ในตลาดออนไลน์
Lazada
- Lazada ก่อตั้งในปี 2012 โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Alibaba Group
- จุดเด่น : Lazada มีระบบการจัดส่งสินค้าที่ครอบคลุมทั่วภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีโปรโมชั่นและแคมเปญการขายใหญ่ๆ เช่น Lazada 11.11 และ Lazada Birthday Sale
- Lazada มีสินค้าที่หลากหลายตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภค อิเล็กทรอนิกส์ แฟชั่น และของใช้ในบ้าน และยังรองรับการชำระเงินหลายรูปแบบ รวมถึงการชำระเงินปลายทาง
Shopee
- Shopee ก่อตั้งในปี 2015 โดย Sea Group
- จุดเด่น : Shopee มีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย มีแอปพลิเคชันรองรับฟีเจอร์ที่สนับสนุนด้านการขาย เช่น Shopee Live และ Shopee Games เพื่อดึงดูดผู้ใช้งาน
- Shopee มีสินค้าที่หลากหลายเช่นเดียวกับ Lazada และเน้นการขายแบบ Flash Sale อีกทั้งมีระบบชำระเงินที่ปลอดภัย ShopeePay
Lazada vs Shopee
ในเมื่อเรารู้จัก Shopee กับ Lazada ในเบื้องต้นไปแล้ว ทีนี้เรามาดูและเปรียบเทียบกับชัดๆ เลยว่า การทำ Affiliate Marketing ระหว่าง Shopee กับ Lazada นั้นเงื่อนไขเป็นอย่างไร? แพลตฟอร์มไหนที่เหมาะกับเรา? ทั้ง 2 มีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง?
คุณสมบัติของ Affiliate Lazada
ระบบการสมัครและการเริ่มต้น
- ขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ Affiliate คือ เข้าสู่หน้าบัญชีของฉันและคลิกรูปฟันเฟือง เพื่อเข้าสู่ LazAffiliates
- การเริ่มต้นสมัครทำ Affiliate Lazada นั้นมีขั้นตอนหลักเพียง 3 ขั้นตอนคือ
- กรอกข้อมูลส่วนตัว : โดยจะกรอกเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ข้อมูลนั้นต้องตรงกับบัตรประชาชน พร้อมอัพโหลดรูปภาพบัตรประชาชนให้ชัดเจน
- กรอกข้อมูลธนาคาร : กรอกรายละเอียดข้อมูลบัญชีธนาคารเพื่อใช้ในการรับค่าคอมมิชชั่น อย่างลืมอัพโหลดรูปหน้าบัญชีธนาคารให้ตรงกับเลขบัญชีธนาคาร
- กรอกข้อมูลภาษี : กรอกข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายภาษีเช่น บุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคล
- หากเป็นบริษัท Oversea หรือธุรกิจที่อยู่ต่างประเทศก็จะมีขั้นตอนที่คล้ายกันแต่จะแตกต่างในรายละเอียดเล็กน้อย Lazada Affiliate Program – วิธีการสมัคร
อัตราค่าคอมมิชชั่นและโครงสร้างรายได้
- ค่าคอมมิชชั่นที่จะได้รับต่อการขายสินค้านั้นขึ้นอยู่กับร้านค้าผู้จำหน่ายและผู้ซื้อสินค้า
- ค่าคอมมิชชั่นหมวดหมู่สินค้าที่โปรโมท แต่ละหมวดหมู่มีอัตราที่แตกต่างกัน เช่น
- หมวดหมู่แฟชั่นอาจมีค่าคอมมิชชั่นสูงถึง 10% ขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจมีค่าคอมมิชชั่นประมาณ 3-5%
- ซึ่งข้อมูลในเว็บไซต์ของ Lazada ระบุว่าค่าคอมมิชชั่นอาจสูงสุดได้ถึง 80% !!! โดยยอดคอมมิชชั่นจะสามารถถอนได้ก็ต่อเมื่อมียอดเงิน 300 บาทขึ้นไป
- โดยเฉพาะคนที่สมัครเข้าร่าวมโปรแกรม Affiliate ใหม่ ทาง Lazada มีโบนัสแจกให้จุกๆ ดังนี้
- หากเริ่มต้นโปรโมทและมีออเดอร์แรกรับโบนัสทันที 100 บาท
- เข้าร่วมกิจกรรมสร้างออเดอร์เพื่อรับโบนัสพิเศษสูงสุด 9,000 บาท
เครื่องมือการตลาดและการสนับสนุน
- Lazada Affiliate มีระบบแดชบอร์ดที่ใช้งานง่าย ช่วยให้สามารถตรวจสอบยอดขาย ค่าคอมมิชชั่น และการคลิกของลิงก์ได้แบบเรียลไทม์
- ขั้นตอนการตรวจสอบค่าคอมมิชชั่น
- เข้าสู่ระบบ Lazada Affiliate
- เลือกเมนู “รายงาน”
- เลือก “การตรวจสอบค่าคอมมิชชั่น”
- เลือกช่วงวันที่ที่ต้องการตรวจสอบ
- คลิก “ค้นหา”
- การสร้างลิงก์ Affiliate: Lazada มีเครื่องมือที่ช่วยสร้างลิงก์ Affiliate ที่ง่ายและรวดเร็ว เพียงแค่คัดลอก URL ของสินค้าแล้วนำมาวางในเครื่องมือสร้างลิงก์ และมีระบบติดตามลิงก์เพื่อวัดประสิทธิภาพลิงก์ที่โปรโมททำงานได้ดีเพียงใด
- Lazada มีแบนเนอร์โฆษณาที่หลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับเว็บไซต์หรือบล็อกที่เราจะไปโปรโมท โดยมีวิดเจ็ตที่สามารถปรับแต่งได้ เช่น
- วิดเจ็ตแสดงสินค้าขายดี
- วิดเจ็ตโปรโมชั่น ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีความน่าสนใจและดึงดูดผู้เข้าชม
- Affiliate ทุกคนจะได้รับข้อมูลโปรโมชั่นและแคมเปญพิเศษล่วงหน้า เช่น 11.11, 12.12 และเทศกาลต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย
- Lazada มีทีมงานที่คอยให้คำปรึกษาและตอบคำถามตลอดเวลาและมีการจัดฝึกอบรมและสัมมนาออนไลน์สำหรับ Affiliate โดยเฉพาะ
- Lazada ไม่มีข้อจำกัดในการเป็นพันธมิตรโปรโมท ก็คือเราจะมีฐานผู้ติดตามหรือไม่ก็ได้ ซึ่ง Lazada จะมีกิจกรรมพิเศษสำหรับ พันธมิตรทั้ง 2 แบบ
- บุคคลทั่วไป ไม่มีผู้ติดตาม : Lazada มีกิจกรรมพิเศษเพิ่มค่าคอมมิชชั่น มีการคอร์สสอนการเป็น Influencer
- Influencer (มียอดผู้ติดตาม 3,000+ คน) : มีโอกาสร่วมงานจากแบรนด์ดังและรับสินค้าฟรีไปรีวิว อีกทั้งยังมีกิจกรรมพิเศษเพิ่มโบนัส

คุณสมบัติของ Affiliate Lazada
คุณสมบัติของ Affiliate Shopee
กระบวนการสมัครและการเริ่มใช้งาน
- ขั้นตอนในการสมัครเพื่อใช้งาน Shopee Affiliate นั้น มีขั้นตอนที่คล้ายกับ Lazada เช่นกัน ก็คือการเข้าไปที่ลิงก์นี้ จากนั้นก็ทำการกรอกข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของเรา
- รายละเอียดในการสมัครไปจนถึงการโพสต์ขายนั้นทาง Shopee ได้ทำวิดีโอสาธิตเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย : หาเงินง่ายๆ เพียง 3 steps แค่ “สมัคร โพสต์ รับเงิน” กับ Shopee Affiliate Program – YouTube
- หรือใครที่สะดวกในการอ่านไปทีละขั้นตอน ก็สามารถทำตามลิงก์ที่ทาง Shopee แนะนำดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ https://shopee.co.th/m/affiliate-influencer และคลิก “สมัครเลย”
- กรอกข้อมูล ผูกโซเชียลมีเดียที่ใช้ในการโปรโมต
- เมื่อสมัครเรียบร้อย รอรับอีเมล์คอนเฟิร์มการสมัครภายใน 1-2 วันทำการ
ค่าคอมมิชชั่นและโอกาสในการสร้างรายได้
- อัตราค่าคอมมิชชั่นในการเป็น Affiliate กับ Shopee นั้นแตกต่างไปตามชนิดของสินค้า โดย Shopee ได้ระบุข้อมูลไว้เบื้องต้นดังนี้ – อัตราค่าคอมมิชชั่นของโปรแกรม Shopee Affiliate | Shopee TH Help Center
- โดยในหน้าเว็บไซต์ Affiliate Shopee ระบุไว้ว่าสามารถรับค่าคอมมิชชั่นได้สูงสุดถึง 60% + โบนัสกิจกรรมสูงสุดต่อเดือน 60,000 บาท
- รายละเอียดค่าคอมมิชชั่นสำหรับ Affiliates บน Shopee มีรายละเอียดดังนี้
- จะต้องเป็นคำสั่งซื้อที่เกิดขึ้นภายใน 7 วัน หลังจากที่ผู้ซื้อคลิกลิงก์ Affiliate
- ค่าคอมมิชชั่นจะคำนวณจากราคาสินค้า ไม่รวมค่าจัดส่งและส่วนลด
- เราสามารถตรวจสอบอัตราค่าคอมมิชชั่นล่าสุดได้ที่ “โปรแกรม Affiliate” บนแอป Shopee
- ค่าคอมมิชชั่นจะไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การตรวจสอบค่าคอมมิชชั่น:
- เข้าสู่ระบบแอป Shopee
- ไปที่ “โปรแกรม Affiliate”
- เลือก “รายงาน”
- เลือก “รายงานค่าคอมมิชชั่น”
- เลือกช่วงวันที่ที่ต้องการตรวจสอบ
- คลิก “ค้นหา”
เครื่องมือการตลาดและการสนับสนุนจาก Shopee
- Shopee Affiliate มอบคลังสินค้าลิงก์ Affiliate สุดอลังการให้เลือกหยิบจับใช้งานได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ค้นหาสินค้าที่ต้องการโปรโมทในคลังสินค้านี้ คลิก “สร้างลิงก์” แชร์ลิงก์นั้นบนช่องทางของคุณ เท่านี้ก็รอรับยอดขายแบบชิลๆ
- Shopee Affiliate มีกิจกรรมสำหรับเพิ่มโบนัสในกิจกรรม Affiliate Mission ดังนี้
- รับโบนัสสูงสุด 50,000 บาท – เหล่าพันธมิตรทั้งหลายสามารถพิชิตโบนัสจากกิจกรรมเพิ่มเติมนอกจากการโปรโมทลิงก์สินค้าได้ โดยที่จะมีภารกิจให้ทำทุกๆ วันเพื่อรับโบนัสตามอัตรา
- Weekly Challenge – เป็นกิจกรรมพิเศษจาก Shopee ที่ให้เหล่าพันธมิตรโพสต์ตามธีมที่กำหนดเพื่อรับโบนัสเพิ่มทุกสัปดาห์
- EXTRA COMM – เพิ่มค่าคอมมิชชั่นได้สูงสุดถึง 60% พียงโปรโมทสินค้าจากแบรนด์และร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ Extra Comm
- โปรแกรม Shopee Live เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ทาง Shopee ส่งเสริมการขายและให้เหล่าพันธมิตรได้สร้างรายได้จากคอมมิชชั่นผ่านการไลฟ์สด
- หรือหากใครไม่ชอบไลฟ์สด ก็สามารถสร้างคลิปวิดีโอสั้นในการรีวิวสินค้าพร้อมติดตระกร้าสินค้าในคลิปเพื่อเป็นช่องทางการขายได้เลย

คุณสมบัติของ Affiliate Shopee
ข้อดีและข้อเสียของ Affiliate Shopee
จากที่ได้รู้คุณสมบัติเบื้องต้นของ Affiliate Shopee กันไปแล้วทีนี้เรามาดูและเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการทำ Affiliate Shopee กันบ้างว่ามีอะไรที่เราควรจะรู้
ข้อดี Affiliate Shopee |
ข้อเสีย Affiliate Shopee |
สมัครง่าย : สมัครออนไลน์ฟรี เพียงไม่กี่คลิก |
การแข่งขันสูง: มีคนทำ Affiliate หลายคนทำให้มีการแข่งขันที่สูงขึ้นใน Shopee |
มีสินค้าหลากหลายให้โปรโมท : เลือกโปรโมทสินค้าได้หลากหลายประเภท |
นโยบายและกฎระเบียบ: พันธมิตรจำเป็นต้องมีบัญชี Shopee อยู่แล้ว |
ระบบแพลตฟอร์มดี : แพลตฟอร์มใช้งานง่าย เข้าใจง่าย แบนเนอร์ ลิงก์ สื่อโฆษณา พร้อมใช้งานฟรี |
การจ่ายเงิน: สินค้าบางประเภทมีค่าคอมมิชชั่นต่ำ พันธมิตรอาจมองว่าไม่คุ้มค่า |
โปรโมชั่นและแคมเปญพิเศษ : มีโปรโมชั่นและแคมเปญที่ดึงดูดลูกค้าตลอดทั้งปี |
เครื่องมือติดตามผลงาน : รายละเอียดและเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพไม่ค่อยชัดเจนนนัก |
มีชุมชน Affiliates : แลกเปลี่ยน เรียนรู้ พัฒนา และแชร์ประสบการณ์ เทคนิคการตลาด สร้างเครือข่าย |
|
มีฟีเจอร์ใช้งานหลากหลาย : ทั้ง Shopee Live คลิปวิดีโอสั้น ในการโปรโมทสินค้า |
ตารางเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของ Affiliate Shopee
การเปรียบเทียบระหว่าง Affiliate Lazada และ Shopee
ถึงเวลาที่ต้องวัดกันให้ชัดเจนระหว่าง สิงห์เหนือเสือใต้ Lazada vs Shopee ในด้านปัจจัยต่างๆ ในการทำ Affiliate Marketing ว่าฝั่งไหนดูภาพรวมแล้วมีประสิทธิภาพมากกว่า หรือฝั่งไหนที่ดูแล้วเหมาะกับเรามากกว่า
ความสะดวกในการสมัครและเริ่มต้น
- Lazada : การสมัครเข้าโปรแกรม Affiliate ของ Lazada ค่อนข้างเรียบง่าย เพียงแค่กรอกข้อมูลพื้นฐานตามที่แพลตฟอร์มต้องการและรอการอนุมัติจากทีมงาน ในระหว่างรออนุมัติท่านก็สามารถเริ่มต้นโปรโมทได้เลย ระบบจะคำนวณค่าคอมมิชชั่นให้
- Shopee : การสมัครสมาชิก Shopee Affiliate ก็ง่ายเช่นกัน แต่บางครั้งอาจต้องใช้เวลาในการอนุมัติหรือให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับช่องทางการโปรโมทที่คุณจะใช้ และยังไม่พบข้อมูลที่ยืนยันได้ว่าระหว่างรออนุมัตินั้นสามารถเริ่มโปรโมทได้เลยหรือไม่
- สรุปด้านความสะดวกในการสมัครและเริ่มต้น ให้ Lazada เฉือนชนะ Shopee อย่างฉิวเฉียด 1-0
อัตราค่าคอมมิชชั่นและโครงสร้างรายได้
- Lazada : Lazada เสนอค่าคอมมิชชั่นที่หลากหลายและสูงสุดถึง 80% ขึ้นอยู่กับหมวดหมู่สินค้า จากที่ได้ค้นขว้าข้อมูลยังไม่พบตารางที่บอกอัตรค่าคอมมิชชั่นอย่างชัดเจนจาก Lazada
- Shopee : Shopee ก็มีอัตราค่าคอมมิชชั่นที่น่าสนใจ โดยทั่วไปอัตราค่าคอมมิชชั่นจะอยู่ระหว่าง 5-10% สูงสุดถึง 60% ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและแคมเปญพิเศษ ค่าคอมมิชชั่นของ Shopee มีการระบุไว้อย่างชัดเจนในแต่ละหมวดหมู่สินค้า
- สรุปด้านอัตราค่าคอมมิชชั่นและโครงสร้างรายได้ให้ Shopee ชนะ Lazada ตอนนี้เสมอ 1-1
เครื่องมือและการสนับสนุนที่ให้บริการ
- Lazada : Lazada มอบเครื่องมือการตลาดที่ครบครัน เช่น แบนเนอร์, วิดเจ็ต, และลิงก์ Affiliate รวมถึงการสนับสนุนจากทีมงานที่คอยให้คำแนะนำและคำปรึกษา นอกจากนี้ยังมีแดชบอร์ดที่ช่วยติดตามผลและรายงานที่มีรายละเอียดสูง
- Shopee : Shopee ก็ไม่แพ้กันในด้านเครื่องมือการตลาด โดยมีแบนเนอร์, วิดเจ็ต และเครื่องมือสร้างลิงก์ที่ใช้งานง่าย การสนับสนุนจากทีมงาน Shopee ก็รวดเร็วและมีการฝึกอบรมให้กับนัก Affiliate รวมถึงเนื้อหาการตลาดที่มีคุณภาพ
- สรุปด้านเครื่องมือการตลาดและการสนับสนุนให้ Shopee เสมอกับ Lazada สกอร์ตอนนี้ 2-2 !!!
ประสบการณ์และความพึงพอใจของผู้ใช้งาน
- สถิติการใช้งาน Shopee มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาด E-commerce ของประเทศไทย โดยเฉพาะในปี 2023-2024 ด้วยความที่มีฐานผู้ใช้งานที่กว้างขวางและมีจำนวนผู้เข้าชมสูง ซึ่งทำให้โปรแกรม Affiliate ของ Shopee มีความน่าสนใจมากขึ้น
- ในขณะที่ Lazada มีผู้ใช้งานที่หลากหลายและฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง ทำให้โปรแกรม Affiliate ของ Lazada มีความน่าสนใจและแข่งขันได้
- โครงสร้างรายได้ของ Shopee อาจมีการปรับเปลี่ยนตามโปรโมชั่นและแคมเปญพิเศษ ในขณะที่โครงสร้างรายได้ของ Lazada ค่อนข้างชัดเจน และมีการติดตามผลที่แม่นยำผ่านแดชบอร์ด
- จากประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่ได้รีวิวถึงการทำ Affiliate กับ ทั้ง 2 แพลตฟอร์ม ในคลิปนี้ (4)Affiliate shopee หรือ lazada ได้เงินเยอะกว่ากัน? 💰 ใครกำลังสับสนว่าคว… | TikTok ได้ระบุว่าทั้ง 2 แพลตฟอร์มนั้นมีโมเดลที่คล้ายกัน และน่าสนใจพอๆ กัน แต่ให้ Lazada เฉือนชนะนิดๆ ในด้านค่าคิมมิชชั่นที่หลากหลายกว่า
- ส่วนผู้ใช้อีกราย ตีแผ่จากประสบการณ์จริง การทำนายหน้า affiliate ระหว่าง Lazada & Shopee เจ้าไหนจริง เจ้าไหนมโน? (youtube.com) รีวิวว่า Lazada มีการสมัครใช้งานที่ง่ายกว่า เร็วกว่า แต่ Shopee มีการตรวจสอบ ติดต่อ-สื่อสาร เรื่องค่าคอมมิชชั่นได้มีประสิทธิภาพกว่า
- สรุปด้าน ประสบการณ์และความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ให้ Shopee เสมอกับ Lazada จบเกมเสมอ 3-3 …

Shopee vs Lazada Affiliate ไหนดีกว่ากัน?
สรุป: Lazada หรือ Shopee อันไหนดีกว่า?
จากปัจจัยทั้งหมดที่ได้รวบรวมข้อมูลมา พบว่าโมเดลการทำ Affiliate ระหว่าง Shopee กับ Lazada นั้นมีความคล้ายกันอย่างมาก ทั้งการสมัคร รูปแบบการสร้างรายได้ จะแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อยเช่น อัตราคอมมิชชั่นที่แตกต่างกัน โบนัสพิเศษที่แตกต่างกัน โดยทั้งหมด อาจวัดได้จากความพึงพอใจของผู้ใช้งานจริงเท่านั้น และผู้ใช้งานจริงก็มีทั้งฝั่งที่ชอบ Lazada และ ฝั่งที่ชอบ Shopee ดังนั้นหากจะตัดสินกันให้เด็ดขาดคงเป็นการยากแน่นอน ดังนั้นข้อมูลทั้งหมดในบทความนี้ จึงเป็นเพียงองค์ประกอบที่ใช้ในการตัดสินใจเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจและศึกษาว่าแพลตฟอร์มไหนที่มีเงื่อนไขเหมาะกับเราและฝั่งไหนที่เราจะเลือกใช้บริการหรืออาจจะใช้บริการจากทั้ง 2 เจ้าเลยก็ได้