วิธีเริ่มต้นเป็นฟรีแลนซ์ เขียนบทความ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด

ฟรีแลนซ์คืออะไร?

คำนิยามแบบกว้างๆ ของอาชีพฟรีแลนซ์ ก็คือ การทำงานรับจ้างสารพัดอย่างที่ตัวเองถนัดในสายงานนั้นๆ โดยไม่มีข้อผูกมัดในระยะยาวกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง อาชีพฟรีแลนซ์จึงสามารถเลือกรับงานจากนายจ้างได้ทั่วโลกตามที่ตกลงกัน ซึ่งงานฟรีแลนซ์ก็มีหลายประเภท เช่น งานเขียน การออกแบบกราฟิก การพัฒนาเว็บไซต์ การตลาดดิจิทัล การถ่ายภาพ เป็นต้น และด้วยข้อจำกัดที่อิสระในการเลือกสถานที่และเวลาทำงาน อาชีพฟรีแลนซ์จึงเป็นหนึ่งในอาชีพหลักและอาชีพเสริมของหลายๆ คน

คำจำกัดความของฟรีแลนซ์เขียนบทความ

อย่างที่ทราบไปแล้วว่าฟรีแลนซ์คือออะไร ทีนี้ลองเจาะรายละเอียดมาอีกนิดเกี่ยวกับ ฟรีแลนซ์เขียนบทความ หรือนักเขียนบทความฟรีแลนซ์ ก็คือคนที่ทำอาชีพเขียนบทความตามเรื่องหรือหัวข้อพร้อมกับรายละเอียด ตามที่นายจ้างและนักเขียนได้ตกลงกันไว้ โดยไม่มีสัญญาผูกมัดในระยะยาว อาจจะมีเพียงสัญญาในระยะสั้นหรือชั่วคราว หรืออาจจะจ้างเป็นงานในแต่ละครั้งไป

ค้นพบศักยภาพนักเขียนในตัวคุณ

เอาล่ะ! ในเมื่อรู้จักกับอาชีพฟรีแลนซ์เขียนบทความไปแล้ว หลายคนอาจจะเกิดความสนใจในงานนี้ขึ้นมา จนเกิดเป็นคำถามมากมาย แต่ก่อนอื่นมาเริ่มต้นด้วยกับการเช็คและสำรวจตัวเองก่อนว่า ตัวเรามีคุณสมบัติหรือทัศนคติต่อการเป็นนักเขียนแค่ไหน?

คุณมีใจรักการเขียนหรือไม่?

  • ก่อนที่เราจะเป็นฟรีแลนซ์เขียนบทความนั้นลองถามคำถามกับตัวเองว่า รู้สึกสนุกกับการได้เขียนอะไรก็ตามที่ตัวเองอยากเล่าหรือไม่?
  • สังเกตุตัวเองว่า กิจกรรมยามว่าง งานอดิเรกของเราส่วนใหญ่ใช้ไปกับการเขียนไดอารี่ การเขียนโพสต์บนโซเชียลมีเดีย หรือเขียนบล็อกหรือไม่?
  • การสังเกตตัวเองหรือตอบคำถามที่เกี่ยวกับการเขียนบทความ เป็นพื้นฐานในการสำรวจตัวเองว่าเรามีใจที่อยากจะเป็นนักเขียน ชอบการเขียนการเล่าเรื่องราวต่างๆ มากแค่ไหน
  • ซึ่งการจะเป็นนักเขียนที่ดีและประสบความสำเร็จได้นั้น พื้นฐานอันดับแรกคือเราต้องมีใจรักในการเขียนและการเล่าเรื่องราวเสียก่อน ส่วนทักษะในการเขียนนั้นจะเป็นขั้นต่อไปที่เราจะพัฒนา

ทักษะการเขียนของคุณอยู่ในระดับไหน?

  • การประเมินทักษะการเขียนของตนเองเป็นขั้นตอนสำคัญต่อจากการที่เรารู้แล้วว่าเรามีใจรักการเขียน แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าทักษะการเขียนของเรานั้นอยู่ในระดับไหน?
  • ดังนั้นเราลองมาดูวิธีการประเมินทักษะการเขียนเบื้องต้น ตามนี้
  • ตรวจสอบความถูกต้องของไวยากรณ์ การใช้คำศัพท์ การสะกดคำ และเครื่องหมายวรรคตอน
  • ตรวจสอบโครงสร้างบทความ(Outline) การจัดเรียงย่อหน้า การใช้หัวข้อรอง และรูปแบบการเขียนโดยรวม ให้มีความสมดุลและสมเหตุสมผล
  • ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ความชัดเจน วิธีการเล่าเรื่องให้น่าสนใจ
  • ตรวจสอบดูว่าสไตล์การเขียนของเรานั้นว่าสอดคล้องกับประเภทของงานเขียนหรือไม่
  • โดยเราอาจจะเริ่มต้นการเขียนเพื่อรับคำติชมจากช่องทางเหล่านี้
  • ลองเขียนบทความในหัวข้อที่สนใจและลองให้เพื่อนหรือคนรอบข้างประเมินคุณภาพและให้คำติชม
  • ทดลองเขียนบนแพลตฟอร์มออนไลน์หรือเว็บไซต์สำหรับการเขียน เพื่อรับคำติชมจากบุคคลทั่วไป
  • ซึ่งหากเราประเมิณการเขียนของเราแล้ว ก็จะเริ่มรู้แล้วว่าทักษะของเรานั้นอยู่ระดับเลเวลไหน ซึ่งสามารถแบ่งเลเวลการเขียนใหญ่ๆ ได้ดังนี้
  • ระดับเริ่มต้น (Beginner) : มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนและการใช้ภาษา หลักไวยาการณ์ แต่ยังต้องพัฒนาทักษะในการจัดโครงสร้างบทความและการหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ การเล่าเรื่องให้สนุก
  • ระดับกลาง (Intermediate) : สามารถเขียนได้อย่างชัดเจนและมีความเป็นระเบียบ รู้จักการใช้ไวยากรณ์และคำศัพท์ที่หลากหลาย แต่ยังต้องพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการค้นหาข้อมูลที่หลากหลายมานำเสนอ
  • ระดับสูง (Advanced) : มีความชำนาญในการเขียนบทความที่น่าสนใจและมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถใช้ภาษาและไวยากรณ์ได้อย่างถูกต้องและมีความสามารถในการวิจัยข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดี
  • ระดับมืออาชีพ (Professional) : สามารถเขียนบทความที่มีคุณภาพสูงและน่าสนใจ มีความชำนาญในการสื่อสารและการเล่าเรื่อง สามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีทักษะในการวิจัยข้อมูลในงานเขียนและการนำเสนอข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

ระดับสกิลนักเขียนบทความ

เลือกประเภทบทความที่ใช่สำหรับคุณ

เมื่อเข้าสู่วงการนักเขียนแล้ว การเลือกประเภทบทความก็เหมือนการเลือกสายงานที่เราถนัด ยิ่งเรามีความชื่นชอบในเนื้อหาของสิ่งที่เราเขียนเราก็จะสามารถเขียนได้ลึก เล่าเรื่องได้สนุก ถูกต้อง น่าสนใจ ซึ่งประเภทของบทความนั้นก็มีหลายประเภท ส่วนใหญ่แล้วก็มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรานั่นเอง ว่าเราชอบทำอะไร สนใจในสิ่งไหนเป็นพิเศษ

อะไรคือหัวข้อที่คุณมีความรู้ความสนใจ?

  • ก่อนที่นักเขียนจะเลือกประเภทบทความที่ตัวเองถนัด เราต้องรู้ก่อนว่าตัวเองมีความถนัดหรือมีความรู้ในเรื่องใดเป็นพิเศษ
  • หนังสือ บทความ หรือบล็อกในหัวข้อใดที่ชอบอ่าน?
  • หัวข้อใดที่สามารถเขียนหรือพูดถึงได้เป็นเวลานานโดยไม่เบื่อ?
  • เราสามารถให้คำปรึกษาด้านข้อมูลหรือแนวทางในสาขาใดได้?
  • ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจและได้รับความนิยมในปัจจุบัน ปี 2024 โดยอ้างอิงจาก Google Trend เกี่ยวกับหัวข้อบทความที่ถูกค้นหามากที่สุด
  • เทคโนโลยี
  • AI : บทความเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ AI ในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การเงิน การขนส่ง และการศึกษา
  • เทคโนโลยีบล็อกเชน: บทความเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้บล็อกเชน เช่น คริปโตเคอร์เรนซี สัญญาอัจฉริยะ และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  • เมตาเวิร์ส: บทความเกี่ยวกับเมตาเวิร์ส เทคโนโลยีเสมือนจริง และประสบการณ์เสมือนจริง VR/AR
  • 5G: บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ประโยชน์ และการใช้งาน
  • ธุรกิจและการตลาด
  • การตลาดดิจิทัล: บทความเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล เทคนิคการตลาดออนไลน์ การขายของออนไลน์และเครื่องมือการตลาดยุคดิจิทัล
  • อีคอมเมิร์ซ: บทความเกี่ยวกับแพลตฟอร์มการขายสินค้าออนไลน์ การตลาดออนไลน์ การจัดการร้านค้าออนไลน์
  • สตาร์ทอัพ: บทความเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจ การระดมทุน การเติบโตของธุรกิจ แนวทางการดำเนินธุรกิจ
  • รีโมทเวิร์ค : บทความเกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย กลยุทธ์การทำงานจากระยะไกล เทรนด์ของการทำงานแบบ Remote
  • การเงิน
  • การลงทุน: บทความเกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุน ประเภทของการลงทุน และเครื่องมือการลงทุนต่างๆ
  • การเงิน: บทความเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน การเก็บออม การจัดการหนี้สิน
  • เศรษฐกิจ: บทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย นโยบายเศรษฐกิจ แนวโน้มและผลกระทบ
  • สุขภาพ
  • สุขภาพร่างกาย: บทความเกี่ยวกับการกินอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย การนอนหลับ
  • สุขภาพจิต: บทความเกี่ยวกับความเครียด ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล การจัดการความรู้สึก อารมณ์
  • โรคภัยไข้เจ็บ: บทความเกี่ยวกับการแพทย์ โรคต่างๆ สาเหตุ อาการและการรักษา
  • ไลฟ์สไตล์
  • การท่องเที่ยว: บทความเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พัก โรงแรม กิจกรรมระหว่างการท่องเที่ยวและเคล็ดลับการท่องเที่ยวต่างๆ
  • อาหาร: บทความเกี่ยวกับสูตรอาหาร ร้านอาหารไทยและต่างประเทศ วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับอาหาร
  • แฟชั่น: บทความเกี่ยวกับเทรนด์แฟชั่น การแต่งกาย แบรนด์แฟชั่น
  • กีฬา : บทความวิเคราะห์การแข่งขันก่อนและหลัง ประวัตินักกีฬา บทความเกี่ยวกับสโมสร
  • ความสัมพันธ์: บทความเกี่ยวกับความรัก การแต่งงาน ครอบครัว เพื่อนฝูง
  • การศึกษา
  • เทรนด์การศึกษา: บทความเกี่ยวกับเทรนด์การศึกษาใหม่ ๆ เช่น การเรียนรู้แบบผสมผสาน การเรียนรู้แบบออนไลน์
  • เทคโนโลยีการศึกษา: บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในด้านการศึกษา เช่น ซอฟต์แวร์การศึกษา แอปพลิเคชันการเรียนรู้

ตัวอย่างหัวข้อบทความที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

กลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร?

  • การที่นักเขียนรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายใด ที่มีแนวโน้มจะเป็นผู้อ่านหลักๆ ของบทความของเรา จะช่วยให้นักเขียน
  • เขียนเนื้อหาที่ตรงประเด็นและตรงกับความสนใจของผู้อ่าน
  • ดึงดูดผู้อ่านที่ใช่ และเพิ่มโอกาสที่คนอ่านจะคลิกอ่าน แชร์ และติดตามการเขียนของเรา
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อ่าน และทำให้พวกเขากลับมาอ่านอีกครั้ง
  • การรับรู้ถึงกลุ่มเป้าหมายนั้นมีความสอดคล้องไปกับประเภทบทความที่เรากำลังเขียนด้วย เพราะความสนใจในเรื่อง ต่างๆ โดยทั่วไปมักจะแบ่งไปตาม เพศ อายุ การงาน นิสัยส่วนตัว
  • ตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายสำหรับหัวข้อบทความต่างๆ
  • บทความเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองและการบริหารเวลา

กลุ่มเป้าหมาย: วัยทำงาน, อายุ 25-40 ปี, ทำงานในออฟฟิศหรือเป็นผู้ประกอบการ, มีความสนใจในการพัฒนาตนเองและการจัดการเวลา

  • บทความเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการผจญภัย

กลุ่มเป้าหมาย: นักเดินทาง, อายุ 25-45 ปี, ชายและหญิง, มีความสนใจในการท่องเที่ยวและการผจญภัย

การทำงานเป็นฟรีแลนซ์เขียนบทความ

กิจวัตรประจำวันและการทำงาน

  • กิจวัตรประจำวันของฟรีแลนซ์เขียนบทความก็ไม่ได้แตกต่างจากฟรีแลนซ์ในสายงานอื่นๆ มากเท่าไหร่นัก และไม่สามารถกำหนดเวลาตายตัวในการทำงาน/เลิกงานได้ เพราะนี่คือหัวใจของฟรีแลนซ์!
  • การทำงานแบบภาพรวมของการเป็นฟรีแลนซ์ก็คือ
  • การวางแผนงาน จัดทำตารางการทำงานสำหรับแต่ละวัน มีวินัยทำตามการวางแผนที่เราตั้งไว้
  • กำหนดเป้าหมายการเขียน เช่น จำนวนคำหรือจำนวนบทความที่ต้องเขียน ในแต่ละวัน
  • ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เราจะเขียนจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นไอเดียที่จะใช้ในบทความ
  • เมื่อเขียนบทความหรือทำงานตามที่กำหนดแล้ว ก็ตรวจสอบความถูกต้อง แก้ไขข้อผิดพลาดในการใช้ภาษา, ไวยากรณ์, และการจัดเรียงเนื้อหา
  • หลังจากมีผลงานการเขียนมากขึ้น ก็วิเคราะห์ผลงานที่ผ่านมาว่าอะไรที่ทำได้ดีและควรปรับปรุง เพื่อพัฒนาฝีมือต่อไป

เทคนิคการเขียนบทความที่น่าสนใจ

นักเขียนแต่ละคนก็มีแนวทางในการเขียนที่แตกต่างเปรียบเสมือนสกิลและสไตล์ที่ใช้ในการเล่าเรื่องที่แต่ละคนนั้นมีไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่ต้องมีเหมือนกันก็คือเทคนิคที่ใช้เขียนบทความเพื่อให้บทความดูน่าสนใจ และเทคนิคส่วนมากก็ประกอบไปด้วย

  • หัวข้อที่น่าสนใจ : เริ่มต้นหัวข้อด้วยกับการใช้คำที่มีพลังและดึงดูดใจเพื่อให้ผู้อ่านอยากติดตามต่อ
  • การตั้งคำถามหรือประโยคที่ท้าทาย กระตุ้นความคิดและดึงดูดความสนใจ
  • โครงสร้างที่ชัดเจน : กำหนดหัวข้อย่อย (H2, H3, H4) แบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อย่อยที่ชัดเจนและเรียงลำดับอย่างเป็นระบบ สร้างบทความแบบลิสต์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงง่าย
  • ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและกระชับ : ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและหลีกเลี่ยงคำที่ซับซ้อนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย
  • ความคิดสร้างสรรค์ : เล่าเรื่องให้สนุก สร้างสรรค์ ใช้การเปรียบเทียบให้น่าสนใจ
  • เน้นประโยชน์ของผู้อ่าน : เน้นประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับหรือวิธีการที่นำไปใช้ได้จริง อาจจะให้คำแนะนำหรือเคล็ดลับที่เหมาะสม
  • การแนะนำหรือให้ข้อมูลความรู้ ควรจะอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับบทความ
  • ใช้ภาพและสื่อประกอบ : ใช้ภาพประกอบเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเทคนิคพื้นฐานที่บทความบทความหนึ่งจะต้องมี ซึ่งนักเขียนก็สามารถปรับแต่งเพิ่มเติมเทคนิคที่แต่ละคนมองว่าควรจะมีในเนื้อหาตามสะดวก

การตรวจสอบและแก้ไขบทความ

การเป็นนักเขียนแม้ว่าจะมีสกิลการเขียนในระดับมืออาชีพแค่ไหนก็ตาม หลังจากเขียนบทความแล้วก็ต้องมีการตรวจทาน ตรวจสอบและแก้ไขสิ่งที่ผิด ทั้งเรื่องของ ไวยาการณ์ ข้อมูลในบทความ การจัดเรียงหน้ากระดาษ เพื่อให้บทความมีคุณภาพสูงสุด

  • หากบทความมีจำนวนคำและตัวอักษรที่เยอะมากๆ บางทีการใช้ตัวช่วยก็อาจจะย่นระยะเวลาสำหรับนักเขียนไปได้มาก
  • ตัวช่วยสำหรับนักเขียนที่ควรใช้ในการตรวจสอบ
  • Grammarly : ตรวจสอบไวยากรณ์ การสะกดคำ และการใช้ภาษา
  • Hemingway Editor : ช่วยปรับปรุงความชัดเจนและความกระชับของบทความ
  • Grammarly Plagiarism Checker : ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเนื้อหาโดยการเปรียบเทียบกับแหล่งข้อมูลออนไลน์
  • Yoast SEO : ช่วยปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับการค้นหาของเสิร์ชเอนจิน (SEO)

การทำ SEO เพื่อเพิ่มการมองเห็นบทความ

  • เพื่อให้บทความของเราได้รับการเข้าถึงและมีโอกาสติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของผลการค้นหาจากเคื่องมือเสิร์ชเอนจิ้นทั้งหลาย การทำ SEO (Search Engine Optimization) จึงเป็นขั้นตอนที่จพเป็นสำหรับการเขียนบทความ
  • เทคนิคการทำ SEO เพื่อเพิ่มการมองเห็นบทความ มีดังนี้
  • คีย์เวิร์ด (Keyword Research) : ค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อบทความและมีปริมาณการค้นหา (Search Volume) ในระดับหนึ่ง
  • ใส่คีย์เวิร์ดในแต่ละส่วนของบทความ : ใส่คีย์เวิร์ดหลักในหัวข้อบทความ (H1) , บทนำของบทความ , ในหัวข้อย่อย (H2, H3, H4) และกระจายในเนื้อหาอย่างเหมาะสม
  • เนื้อหาดีมีคุณภาพ : เนื้อหาควรมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน อัปเดตเนื้อหาเพื่อสอดคล้องกับข้อมูลล่าสุด
  • การใช้ลิงก์ (Links) : ใช้ลิงก์ภายในเชื่อมโยงบทความภายในเว็บไซต์ของเราและใช้ลิงก์ภายนอกเพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลภายนอกที่น่าเชื่อถือ
  • ใช้ภาพและสื่อประกอบ : ใช้ภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและมีคุณภาพสูง
  • ใช้ URL ที่เหมาะสม : ใช้ URL ที่สั้น กระชับ และมีคีย์เวิร์ดแฝงไปใน URL
  • ใช้ Social Media กระตุ้น : ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อโปรโมทบทความและเพิ่มการเข้าถึง

เทคนิคการทำ SEO ให้บทความ

ฝึกฝนการเขียนอย่างสม่ำเสมอ

  • การเป็นนักเขียนคือหนึ่งอาชีพที่ต้องพัฒนาฝีมืออย่างสม่ำเสมอ พัฒนาไอเดียในการเล่าเรื่อง เพื่อให้ได้บทความที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
  • ดังนั้นการทำงานเป็นฟรีแลนซ์นักเขียน เราก็ต้องหาเวลาเขียนในทุกๆ วันแม้บางวันจะยังไม่มีงานก็ตาม เพื่อให้เรามีสกิลที่ชำนาญในการสร้างบทความมากยิ่งขึ้น
  • ลองเขียนบทความในรูปแบบต่างๆ หรือเขียนบทความประเภทที่เรายังไม่ถนัด ลองหาข้อมูลลองฝึกเล่าเรื่องใหม่ๆ เพราะมันจะเป็นประโยชน์แก่นักเขียนในการมีทางเลือกเพื่อเขียนบทความได้หลายประเภท
  • การฝึกฝนพัฒนาในที่นี้ไม่ได้เจาะจงเฉพาะการเขียนเท่านั้น แต่รวมไปถึง การค้นหาคีย์เวิร์ด การค้นหาข้อมูลที่ถูกต้อง ก็ต้องได้รับการฝึกฝนเช่นกัน

พัฒนาทักษะการหาข้อมูล

  • เพื่อให้ได้บทความที่มีคุณภาพสูงและเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน และจะเกิดการแชร์ การเข้าถึงได้อย่างมากมาย บทความนั้นต้องมีการหาข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ข้อมูลอัพเดททันสมัย
  • การพัฒนาทักษะการหาข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักเขียนบทความทั้งแบบงานประจำและฟรีแลนซ์
  • แหล่งข้อมูลที่ควรใช้ในการอ้างอิงเพื่อเขียนบทความนั้น ก็ต้องเป็นเว็บไซต์หรือข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ถ้าจะดีที่สุดก็มีการรับรองจากสถาบันที่มีชื่อเสียง
  • หาข้อมูลหลายๆ แหล่ง และนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน หยิบข้อมูลจากเว็บนี้มาผสมกับเว็บนี้เพื่อให้เกิดการเล่าเรื่องใหม่ๆ และยังมีข้อมูลที่ถูกต้อง

รายได้ของฟรีแลนซ์เขียนบทความ

  • รายได้ของฟรีแลนซ์เขียนบทความนั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น
  • ความยาวของบทความ
  • ความเชี่ยวชาญของนักเขียน
  • ประเภทของบทความ
  • ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและนักเขียน
  • ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ : นักเขียนที่ยังเลเวลน้อยหรือเป็นมือใหม่ อาจจะยังไม่ชำนาญในการเขียนบทความมากนัก รายได้ก็แตกต่างกับนักเขียนที่เป็นมืออาชีพ
  • ประเภทของบทความ : บทความที่เป็นความรู้ทั่วไปก็จะมีเรทราคาที่ต่ำกว่าบทความที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางยิ่งถ้าบวกกับบทความที่มี SEO อาจมีรายได้เพิ่มขึ้น
  • ความยาวของบทความ : แน่นอนว่าบทความสั้นๆ (ไม่เกิน 800 คำ) ก็จะได้ค่าจ้างน้อยกว่าบทความที่มีความยาว 1,500-2,500 คำ หรือมากกว่านั้น
  • ดังนั้นรายได้ของฟรีแลนซ์เขียนไม่สามารถตีค่าออกมาแบบชัดเจนได้ แต่ถ้าหากเราสามารถทำตามเงื่อนไขที่เพิ่มราคาให้บทความ เช่น บทความความรู้เฉพาะทาง + ทำSEO + ความยาว 2,000 คำ รายได้ก็ถือว่าคุ้มค่าเลยทีเดียว

ปัจจัยด้านรายได้ของนักเขียน

แหล่งหางานสำหรับฟรีแลนซ์เขียนบทความ

เว็บไซต์หางานฟรีแลนซ์

  • แหล่งหางานสำหรับฟรีแลนซ์เขียนบทความโดยหลักๆ แล้วก็จะหางานจากเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่รองรับสำหรับการจ้างฟรีแลนซ์โดยเฉพาะ
  • ซึ่งแต่ละเว็บไซต์นั้นก็มีการว่าจ้างฟรีแลนซ์ในหลายๆ ประเภท หนึ่งในนั้นก็คือฟรีแลนซ์เขียนบทความ ที่ได้รับความนิยมไม่น้อย
  • ตัวอย่างเว็บไซต์สำหรับหางานฟรีแลนซ์
  • Freelancer : แพลตฟอร์มสากลระดับโลกที่รวมงานฟรีแลนซ์หลากหลายประเภท รวมถึงงานเขียนบทความ
  • Fastwork : แหล่งรวมผู้จ้างและฟรีแลนซ์หลากหลายประเภท สำหรับคนไทย
  • Thaifreelanceagency : แพลตฟอร์มสำหรับฟรีแลนซ์ในประเทศไทยที่มุ่งเน้นการเชื่อมต่อระหว่างฟรีแลนซ์และลูกค้า

การใช้งาน LinkedIn และโซเชียลมีเดีย

  • LinkedIn เป็นหนึ่งเว็บไซต์ที่ฟรีแลนซ์นิยมหางานกัน ซึ่งโปรไฟล์ของ LinkedIn ของแต่ละคนจะระบุไปด้วย
  • ประสบการณ์การทำงาน
  • ทักษะที่เกี่ยวข้อง
  • ใบรับรองหรือการศึกษาหรือใบ Certifications
  • และ LinkedIn ก็สามารถเขียนบทความและสร้างเนื้อหาเพื่อเป็นตัวอย่างหรืออาจจะเป็นการถ่ายทอดงานจริงสู่สาธารณะเพื่อให้ผู้คนที่ใช้งานได้เข้าถึงบทความ
  • กลุ่ม Facebook ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนบทความและฟรีแลนซ์ ซึ่งในกลุ่มจะรวมนักเขียนมากมายและนายจ้างที่ต้องการนักเขียนประเภทต่างๆ โดยเราสามารถโพสต์หางานหรือผลงานได้
  • Twitter หรือ X ในปัจจุบัน นักเขียนสามารถใช้ #แฮชแท็ก ในการเพิ่มการเข้าถึงผลงานของเราสู่สาธารณะ เพิ่มการมองเห็นและสามารถติดตามนักเขียนดังๆ เพื่อพัฒนาฝีมือได้
  • Medium เว็บไซต์สำหรับการสร้างบทความในหลายๆ ประเภท ในเมืองไทยอาจจะยังไม่นิยมเท่าที่ควรแต่นักเขียนสามารถโพสต์ผลงานลงใน Medium ได้และสร้างโปรไฟล์ที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญ

สรุป

หากคุณต้องการที่จะเป็นฟรีแลนซ์นักเขียนบทความแล้วล่ะก็ อันดับแรกต้องรู้ตัวเองว่าเรารักการเขียน รักการเล่าเรื่องไหม?จากนั้นก็ลองประเมินฝีมือของเราว่าสามารถสร้างบทความเพื่อเป็นรายได้หรือไม่? และนักเขียนบทความก็ต้องหมั่นฝึกฝนพัฒนาฝีมือในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับการทำให้บทความมีคุณภาพมากขึ้นเพื่อประโยชน์ในการสร้างรายได้และทางเลือกที่มีมากกว่า จากนั้นลองหาแหล่งจ้งงานเขียนบทความจากแหล่งต่างๆ เพื่อลงสนามจริงในการเขียนบทความ

โดยภาพรวมแล้วดูเหมือนจะมีขั้นตอนที่เยอะและยุ่งยากแต่ถ้าหากเรามีใจรักในการเป็นนักเขียนแล้ว ขั้นตอนที่ยุ่งยากเหล่านี้จะเป็นบันไดที่พาเราสู่ความสำเร็จในหนทางการเป็นนักเขียนของเราแน่นอน